ศัพท์สังคีต
หมวด ก
กรอ
1. เป็นวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) อย่างหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีตี 2 มือสลับกันถี่ ๆ เหมือนรัวเสียงเดียว หากแต่วิธีที่เรียกว่า “กรอ” นี้ มือทั้งสองมิได้ตีอยู่ที่ลูกเดียวกัน โดยปกติมักจะตีเป็นคู่ 2 คู่ 3 คู่ 4-5-6 และ 8 ฯลฯf
2. เป็นคําเรียกทางของการดําเนินทํานองเพลงอย่างหนึ่ง ที่ดําเนินทํานองไปโดยใช้เสียงยาว ๆ ช้า ๆ เพลงที่ดําเนินทํานองเพลงอย่างนี้เรียกว่า “ทางกรอ” ที่เรียกอย่างนี้ก็ด้วยเหตุ เพลงที่มีเสียงยาว ๆ นั้น เครื่องดนตรีประเภทตีไม่สามารถจะทําเสียงให้ยาวได้ จึงต้องตีกรอ (ดังข้อ 1) ให้ได้ความยาวเท่ากับความประสงค์ของทํานองเพลง
กรอด
เป็นคําเรียกการตีเครื่องดนตรีวิธีหนึ่ง ที่เมื่อขณะตีลงไปทําให้ไม้ตีสั่นสะเทือนไปในตัว และกดเสียงให้ขาดไป
อธิบาย : การตีที่เรียกว่ากรอดนี้ ก็คือทําเสียงเครื่องดนตรีนั้นให้ดังคล้ายคําพูดที่พูดว่า “กรอด” ซึ่งเป็นวิธีใช้ของฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็กโดยมาก เครื่องดนตรีชนิดอื่นก็มีใช้บ้างเพียงเล็กน้อย
เก็บ
ได้แก่การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกแซงให้มีพยางค์ถี่ขึ้นกว่าเนื้อเพลง ธรรมดา ถ้าจะเขียนเป็นโน้ตสากลในจังหวะ 24 ก็จะเป็นจังหวะละ 4 ตัว ห้องละ 8 ตัว (ขะเบ็ด 2 ชั้นทั้ง 8 ตัว)
อธิบาย : การบรรเลงที่เรียกว่าเก็บนี้ เป็นวิธีการบรรเลงของระนาดเอกและฆ้องวงเล็ก ส่วนเครื่องดนตรีอื่น ๆ ใช้เป็นตอน ๆ ตัวอย่างโน้ต “เก็บ” รวมบันทึกเปรียบเทียบไว้กับ “สะบัด”
หมวด ข
ขยี้
เป็นการบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงแทรกแซงให้มีพยางค์ถี่ขึ้นไปจาก “เก็บ” อีก 1 เท่า ถ้าจะเขียนเป็นโน้ตสากลในจังหวะ 24 ก็จะเป็นจังหวะละ 8 ตัว ห้องละ 16 ตัว (ขะเบ็ด 3 ชั้นทั้ง 16 ตัว)
อธิบาย : การบรรเลงที่เรียกว่าขยี้นี้ จะบรรเลงตลอดทั้งประโยคของเพลง หรือจะบรรเลงสั้นยาวเพียงใด แล้วแต่ผู้บรรเลงจะเห็นสมควร วิธีบรรเลงอย่างนี้ บางท่านก็เรียกว่า “เก็บ 6 ชั้น” ซึ่งถ้าพิจารณาถึงหลักการกําหนดอัตรา (2 ชั้น 3 ชั้น) แล้ว คำว่า 6 ชั้นดูจะไม่สู้ถูกต้อง ถ้าจะเรียกตามอัตราก็น่าจะเรียก 4 ชั้น ตัวอย่างโน้ต “ขยี้” รวมบันทึกเปรียบเทียบไว้กับ “สะบัด”
ขับ
คือการเปล่งเสียงออกไปอย่างเดียวกับการร้อง แต่การขับมักใช้ในทํานองที่มีความยาวไม่แน่นอน การเดินทํานองเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น และถือถ้อยคําเป็นสําคัญ ทํานองต้องน้อมเข้าหาถ้อยคํา เช่น ขับเสภา เป็นต้น การขับกับร้องมีวิธีการที่คล้ายคลึงและมักจะระคนปนกันอยู่ จึงมักเรียกรวม ๆ กันว่า “ขับร้อง”
ไขว้
เป็นวิธีปฏิบัติในการตีเครื่องดนตรีอย่างหนึ่ง ที่ใช้มือขวาข้ามมือซ้ายไขว้มาตีลูกที่มีเสียงตํ่า หรือเอามือซ้ายข้ามมือขวาไขว้ไปตีลูกที่มีเสียงสูง
อธิบาย : โดยปรกติการตีเครื่องดนตรีทุก ๆ อย่าง มือซ้ายย่อมอยู่ทางเสียงตํ่า และมือขวาอยู่ทางเสียงสูง เพราะฉะนั้นเมื่อต้องการให้มือขวาตีลูกที่มีเสียงต่ากว่าที่มือซ้ายตีอยู่ ก็ต้องใช้มือขวาไขว้ข้ามมาตี หรือโดยตรงกันข้าม ต้องการให้มือซ้ายตีลูกที่มีเสียงสูงกว่าที่มือขวาตีอยู่ ก็ต้องใช้มือซ้ายไขว้ข้ามไปตี วิธีตีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “ไขว้” นี้ ใช้เป็นประจากับการบรรเลงเดี่ยวของฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก ส่วนเครื่องดนตรีชนิดอื่นเช่น ระนาดเอก ก็มีใช้อยู่บ้างในบางโอกาส
หมวด ค
ครวญ
เป็นวิธีร้องอย่างหนึ่งซึ่งสอดแทรกเสียงเอื้อนยาว ๆ ให้มีสําเนียงครวญครํ่ารําพัน และเสียงเอื้อนที่สอดแทรกนี้มักจะขยายให้ทํานองเพลงยาวออกไปจากปกติ
อธิบาย : เพลงที่จะแทรกทํานองครวญเข้ามานี้ ใช้เฉพาะแต่เพลงที่แสดงอารมณ์โศกเศร้า เช่น เพลงโอ้ปี่ และเพลงร่าย (ในบทโศก) และบทร้องที่จะร้องทํานองครวญ ก็จะต้องเป็นคํากลอนสุดท้ายของบทนั้น ซึ่งเมื่อร้องจบคํานี้แล้ว ปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเพลงโอดประกอบกิริยาร้องไห้ติดต่อกันไป
คร่อม
คือการบรรเลงทํานองหรือบรรเลงเครื่องประกอบจังหวะหรือร้องดําเนินไปโดยไม่ตรงกับจังหวะที่ถูกต้อง เสียงที่ควรจะตกลงตรงจังหวะกลายเป็นตกลงในระหว่างจังหวะ ซึ่งกระทําไปโดยไม่มีเจตนา และถือว่าเป็นการกระทําที่ผิด เรียกอย่างเต็มว่า “คร่อมจังหวะ”
หากเขียนเป็นภาพเปรียบเทียบการบรรเลงถูกจังหวะกับคร่อมจังหวะก็จะเป็นดังนี้
ครั่น
เป็นวิธีที่ทําให้เสียงสะดุดสะเทือนเพื่อความไพเราะเหมาะสมกับทํานองเพลงบางตอน
อธิบาย : การทําเสียงให้สะดุดและสะเทือนที่เรียกว่าครั่นนี้ ใช้เฉพาะกับการขับร้อง หรือเครื่องดนตรีประเภทเป่า เช่น ปี่ ขลุ่ย และเครื่องดนตรีประเภทสี เช่น ซอต่าง ๆ เท่านั้น การขับร้องครั่นด้วยคอ เครื่องดนตรีประเภทเป่า ครั่นด้วยลมจากลําคอ และเครื่องดนตรีประเภทสี ครั่นด้วยคันสี (หรือคันชัก)
ครึ่งชั้น
เป็นคําที่บัญญัติกันขึ้นใหม่ โดยใช้เรียกอัตราของเพลงที่ได้ตัดลงจากเพลงอัตราชั้นเดียวอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีส่วนเป็นครึ่งหนึ่งของชั้นเดียว
อธิบาย : การเรียกอัตราเพลงว่า ชั้นเดียว 2 ชั้น และ 3 ชั้นนั้น เรียก ตามชั้นที่แต่งขึ้น แม้ทุก ๆ ชั้นจะแต่งขึ้นโดยทวีคูณ ก็มิได้เรียกเป็น 1 ชั้น 2 ชั้น และ 4 ชั้น ตามส่วนของเลขคณิต เมื่อมามีเพลงที่ตัดลงครึ่งหนึ่งจาก เพลงชั้นเดียว ก็ไม่มีทางว่าจะเรียกอัตรานี้เป็นอย่างอื่นได้ นอกจากเรียกว่า “ครึ่งชั้น” และก็เป็นที่ยอมรับเรียกกันอยู่ในวงการดนตรีไทยโดยทั่วไปแล้ว
คลอ
เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อม ๆ กับการร้องเพลง โดยดําเนินทํานองเป็นอย่างเดียวกัน คือบรรเลงไปตามทางร้อง เช่น ซอสามสายสีคลอไปกับเสียงร้องเป็นต้น เปรียบเทียบก็เหมือนคน ๒ คน เดินคลอกันไป
ควง
การปฏิบัติอย่างหนึ่งของเครื่องดนตรีจําพวกที่ใช้นิ้วเช่น ปี่ ขลุ่ยและซอต่าง ๆ โดยทําให้เกิดเสียงเป็นเสียงเดียวกัน แต่ใช้นิ้วไม่เหมือนกัน และจะต้องทําเสียงที่ใช้นิ้วคนละอย่างนั้นติดต่อกัน ตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป วิธีเช่นนี้บางทีก็เรียกว่า “ควงนิ้ว”
อธิบาย : วิธีที่ใช้นิ้วคนละอย่างแต่เกิดเสียงสูงตํ่าเป็นระดับเดียวกัน ที่ เรียกว่า “ควง” หรือ “ควงนิ้ว” นี้ คือปิดเปิดนิ้วอย่างที่ปฏิบัติอยู่เป็นปรกติ ครั้งหนึ่ง แล้วปิดเปิดนิ้วให้ผิดไปจากปรกติ แต่ให้เกิดเสียงเป็นระดับเดียวกัน อีกครั้งหนึ่ง ถ้าจะเปรียบกับเสียงพูด ก็เหมือนกับเสียงที่เราพูดว่า “ฮือ-ฮอ” ซึ่งเป็นเสียงระดับเดียวกัน แต่เป็นคนละสระ และที่จะเรียกว่าควงหรือควง นิ้วได้ ก็ต้องทําเสียงซึ่งใช้นิ้วคนละอย่างนั้นติดต่อกัน อาจเพียงอย่างละพยางค์ เดียว (ฮือ ฮอ) หรือสลับกันหลาย ๆ พยางค์ (ฮือ-ฮอ-ฮือ-ฮอ-ฮือ-ฮอ) ก็ได้ แต่ถ้าทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงเสียงเดียว จะเรียกว่า “ควง” ไม่ได้
คาบลูกคาบดอก
เป็นคําเรียกวิธีดําเนินทํานองเพลงแบบหนึ่ง ที่ปฏิบัติพลิกแพลงให้มีวิธีบรรเลงเป็น 2 อย่างสลับกัน โดยปรกติใช้เรียกทางเดี่ยวระนาดเอก ที่มีทั้ง “เก็บ” และ “รัว” (เป็นทานอง) สลับกัน
อธิบาย : ที่เรียกว่าคาบลูกคาบดอก ก็เป็นการสมมุติว่า “เก็บ” นั้นเป็นลูก และ “รัว” เป็นดอก เมื่อบรรเลงโดยใช้วิธีทั้ง 2 อย่างสลับกัน จึงเป็นคาบลูกคาบดอกเหมือนต้นไม้ที่ออกทั้งลูกทั้งดอกพร้อม ๆ กัน
คู่
หมายถึง 2 เสียง และเสียงทั้ง 2 นี้อาจบรรเลงให้ดังพร้อมกันก็ได้ หรือดังคนละทีก็ได้ เสียงทั้ง 2 นี้ ห่างกันเท่าใดก็เรียกว่าคู่เท่านั้น แต่การนับจะต้องนับเสียงที่ดังทั้ง 2 รวมอยู่ด้วย สมมุติว่าเสียงหนึ่งอยู่ที่อักษร บ. อีกเสียงหนึ่งอยู่ที่อักษร พ. การนับก็ต้องนับ 1 บ. 2 ป. 3 ผ. 4 ฝ. และ 5 พ. คู่เช่นนี้ก็ต้องเรียกว่า “คู่ 6”
เคล้า
เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อม ๆ กับการร้องเพลง (เช่นเดียวกับคลอ) โดยเพลงเดียวกัน แต่ต่างก็ดําเนินทํานองไปตามทางของตน คือร้องก็ดําเนินไปตามทางร้องดนตรีก็ดําเนินไปตามทางดนตรี ยึดถือแต่เนื้อเพลง จังหวะ และเสียงที่ตกจังหวะ (หน้าทับ) เท่านั้น เช่นการร้องเพลงทะแย 2 ชั้น ในตับพรหมาสตร์ ที่มีบทว่า “ช้างเอยช้างนิมิต เหมือนไม่ผิดช้างมัฆวาน ฯลฯ” ซึ่งคนร้องดําเนินทํานองไปอย่างหนึ่ง ดนตรีก็ดําเนินทํานองไปอีกอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นเพลงทะแยที่ร้องและบรรเลงไปพร้อม ๆ กัน เทียบได้กับการคลุกเคล้าปรุงรสอาหารให้รสเปรี้ยวเค็มเข้าผสมผสานกันให้โอชารส วิธีการเช่นนี้บางท่านก็เรียกว่า “คลอ”
หมวด จ
จน
หมายถึงการที่นักดนตรีบรรเลงเพลงอันถูกต้องที่เขาประสงค์ไม่ได้
อธิบาย : เพลงที่นักดนตรีจาจะต้องบรรเลงให้ถูกต้องตามความประสงค์นั้น มีอยู่หลายอย่าง เป็นต้นว่านักร้องเขาร้องส่งเพลงอะไร นักดนตรีก็ต้อง บรรเลงรับด้วยเพลงนั้น หรือเมื่อ คนพากย์ เจรจา หรือคนบอกบท เขาบอก ให้บรรเลงเพลงหน้าพาทย์อะไร นักดนตรีก็ต้องบรรเลงเพลงนั้น ถ้าหาก นักดนตรีบรรเลงเพลงให้ตรงกับที่นักร้องเขาร้องไม่ได้ หรือบรรเลงเพลง หน้าพาทย์ตามที่คนพากย์ เจรจา หรือคนบอกบทเขาบอกไม่ได้ จะเป็นนิ่งเงียบ อยู่หรือบรรเลงไปโดยกล้อมแกล้ม หรือบรรเลงไปเป็นเพลงอื่นก็ตาม ถือว่า “จน” ทั้งสิ้น
จังหวะ
หมายถึงการแบ่งส่วนย่อยของทานองเพลง ซึ่งดาเนินไปด้วยเวลาอันสม่าเสมอทุก ๆ ระยะของส่วนที่แบ่งนี้คือจังหวะ จังหวะที่ใช้ในการดนตรีไทย แยกออกได้เป็น 3 อย่าง คือ
1. จังหวะสามัญ หมายถึงจังหวะทั่วไปที่จะต้องยึดถือเป็นหลักสาคัญของการขับร้องและบรรเลง แม้จะไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องให้สัญญาณจังหวะ ก็ต้องมี ความรู้สึกอยู่ในใจตลอดเวลา จังหวะสามัญนี้อาจแบ่งซอยลงไปได้เป็นขั้น ๆ แต่ละขั้นจะใช้เวลาสั้นลงครึ่งหนึ่งเสมอไป (ยกเว้นเพลงพิเศษที่เป็นอัตรา ผสม เช่น เพลงจังหวะ 68 หรือ 98 เป็นต้น) และเมื่อจังหวะสั้นลงครึ่งหนึ่งจานวนจังหวะก็มากขึ้นอีกเท่าตัว
อุทาหรณ์ : เพลงหนึ่งมี 8 จังหวะ กินเวลาบรรเลง 128 วินาที จึง เป็นจังหวะละ 16 วินาที จะซอยส่วนจังหวะลงได้ดังนี้
จังหวะละ 16 วินาที เป็นเพลง 8 จังหวะ
ถ้าจังหวะละ 8 วินาที ก็เป็นเพลง 16 จังหวะ
ถ้าจังหวะละ 4 วินาที ก็เป็นเพลง 32 จังหวะ
ถ้าจังหวะละ 2 วินาที ก็เป็นเพลง 64 จังหวะ
ถ้าจังหวะละ 1 วินาที ก็เป็นเพลง 128 จังหวะ
2. ผู้ขับร้องและผู้บรรเลงดนตรีจะยึดถือเอาจังหวะขนาดไหนเป็นสาคัญ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมของลักษณะเพลงนั้น ๆ
จังหวะฉิ่ง : เป็นการแบ่งจังหวะด้วยเสียงที่ดีฉิ่ง เพื่อให้รู้จังหวะเบาและจังหวะหนัก โดยปรกติฉิ่งจะตีสลับกันเป็น “ฉิ่ง” ทีหนึ่ง “ฉับ” ทีหนึ่ง ฉิ่งเป็นจังหวะเบา และฉับเป็นจังหวะหนัก ส่วนจะใช้จังหวะถี่หรือห่างอย่างไร ก็แล้วแต่ลักษณะของเพลง
เพลงพิเศษ บางเพลงอาจตีแต่เสียงที่ดังฉิ่งล้วน ๆ หรือฉับล้วน ๆ ก็ได้ เพลงสาเนียงจีนหรือญวนมักตีเป็น “ฉิ่งฉิ่งฉับ” แต่นี่เป็นการแทรกเสียงฉิ่ง พยางค์ที่ 2 เข้ามาอีกพยางค์หนึ่งเท่านั้น มิได้เป็นจังหวะพิเศษอย่างใด ส่วนเพลงจังหวะพิเศษ เช่นเพลงจาพวกโอ้โลม ชมตลาด และยานี การตีฉิ่งมีจังหวะกระชั้นในตอนท้ายประโยค เพราะเป็นเพลงประเภทประโยคละ 7 จังหวะ ถ้าเทียบกับโน้ตสากลก็เป็นจังหวะ 74 ห้องหนึ่งมีจังหวะ 44 กับ 34 รวมกัน จังหวะหนัก (ฉับ) จะตกที่จังหวะที่ 1 กับที่ 5 ตลอดไป หรือจะเขียนเป็น 44 ห้องหนึ่ง 34 ห้องหนึ่งสลับกันไปก็ได้ ถ้าเขียนดังนี้ จังหวะหนัก (ฉับ) ก็จะตกที่จังหวะ 1 (หน้าห้อง) ทุก ๆ ห้อง และจังหวะเบา (ฉิ่ง) ก็จะตกจังหวะที่ 3 ทุกห้อง
จังหวะหน้าทับ คือการถือหน้าทับเป็นเกณฑ์นับจังหวะ หมายความว่า เมื่อหน้าทับตีจบไปเที่ยวหนึ่งก็นับเป็น 1 จังหวะ ที่จบไป 2 เที่ยวก็เป็น 2 จังหวะ แต่หน้าทับที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกําหนดจังหวะนี้ โดยปรกติใช้แต่หน้าทับที่เป็นประเภทของเพลงนั้น ๆ เช่น ปรบไก่ หรือสองไม้ กับอัตราชั้นของเพลง เช่น 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว ส่วนเพลงที่มีหน้าทับพิเศษซึ่งมีความยาวมาก ก็มิได้ถือเอาหน้าทับประจาเพลงเช่นนั้นมาเป็นเกณฑ์กําหนดจังหวะ เช่นเพลงตระนิมิต (2 ชั้น) ซึ่งมีหน้าทับตะโพนประจําเพลงอยู่ เวลาบรรเลง ตะโพนก็จะตีหน้าทับตระ ซึ่งมีความยาวเท่ากันกับทํานองเพลง หน้าทับกับทํานองเพลงก็จะจบลงพร้อมกัน แล้วจะถือว่าเพลงตระนิมิตมีจังหวะเดียวหาได้ไม่ หากจะตรวจ ให้ทราบว่าเพลงตระนิมิตมีกี่จังหวะ ก็จะต้องใช้หน้าทับปรบไก่ 2 ชั้น เป็นเกณฑ์ตรวจสอบ เพราะเพลงตระนิมิตเป็นเพลงประเภทหน้าทับปรบไก่ เมื่อนาหน้าทับปรบไก่มาตีเข้ากับทานองเพลงตระนิมิต ก็จะตีหน้าทับได้ 8 เที่ยว จึงเป็นอันรู้ได้ว่าเพลงตระนิมิตมี 8 จังหวะ การที่นักดนตรีพูดกันว่าเพลงนี้ เท่านั้นจังหวะ เพลงนั้นเท่านั้นจังหวะ ก็หมายถึงการนับจังหวะ หน้าทับดังกล่าวมานี้
จับ
เป็นคําเรียกแทนคําว่าท่อนของเพลงเชิดนอก
อธิบาย : โดยปรกติเพลงเชิดนอก เช่น เชิดใน เชิดฉิ่ง เชิดฉาน หรือเชิดจีน เรียกการแบ่งส่วนเป็นท่อนหนึ่ง ๆ ว่า “ตัว” ทั้งนั้น เพลงเชิดนอกเพลงเดียวเท่านั้น ที่เรียก การแบ่งส่วนท่อนหนึ่งว่า “จับ” ที่เป็นดังนี้ก็เนื่องมาจากการบรรเลงประกอบการแสดงหนังใหญ่ ในสมัยโบราณ ในตอนที่แสดงเบิกโรงด้วยชุดจับลิงหัวค่า ซึ่งมีลิงขาวกับลิงดารบกัน การแสดงหนังใหญ่ตอนนี้ปี่จะต่อเป่าเดี่ยวเพลงเชิดนอก และเมื่อผู้เชิดหนังนาหนังที่ภาพต่อสู้กันด้วยท่าต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า “หนังจับ” ออกมา ปี่ก็ต้องเป่าให้เป็นเสียง “จับให้ติดตีให้ตาย” หรือ “ฉวยตัวให้ติด ตีให้แทบตาย” หรืออื่น ๆ ทานองนี้เรียกว่ากันว่า เป่าจับ และประเพณีการแสดงหนังใหญ่ในตอนนี้ จะต้องนาหนังจับออกมา 3 ครั้ง (ครั้งหนึ่ง ๆ มีท่าต่าง ๆ กัน) ปี่ก็ต้องเป่าจับ 3 หน และถือกัน เป็นแบบแผนมาว่า เพลงเชิดนอกที่บริบูรณ์จะต้องมี 3 จับ และคาเรียกท่อนหรือตัวของเพลงเชิดนอกจึงเรียกว่า “จับ” สืบมาจนปัจจุบันนี้
หมวด ช
ชั้นเดียว
เป็นคํากําหนดอัตราของหน้าทับและเพลง ซึ่งประโยคและจังหวะหน้าทับสั้น ๆ และมักจะดําเนินจังหวะเร็ว ถ้าจะเทียบกับการบันทึกโน้ตสากล ในจังหวะหน้าทับหนึ่ง ๆ หากเป็นเพลงประเภทสองไม้ก็จะมีความยาวเท่ากับ 1 ห้อง ของจังหวะ 24 ถ้าเป็นเพลงประเภทปรบไก่ก็จะมีความยาวเท่ากับ 2 ห้อง ของจังหวะ 24 เพลงไทยรุ่นแรกคงจะเป็นอัตราชั้นเดียวทั้งสิ้น
อุทาหรณ์ : เพลงชั้นเดียวประเภทสองไม้ เช่นเพลงที่เรียกว่า “เพลงเร็ว” ซึ่งปี่พาทย์บรรเลงประกอบโขนละคร เพลงเร็วนั้น ทั้งทํานองที่ฆ้องระนาดบรรเลง และหน้าทับที่ตะโพนตีเป็นอัตราชั้นเดียวประเภทสองไม้ทั้งสิ้น ส่วนเพลงชั้นเดียวประเภทปรบไก่ มีตัวอย่างเช่น เพลงเขมร ลออองค์ชั้นเดียว เพลงหงส์ทองชั้นเดียว เป็นต้น
หมวด ด
เดี่ยว
เป็นวิธีบรรเลงอย่างหนึ่งที่ใช้เครื่องดนตรีจําพวกดําเนินทํานองเช่น ระนาด ฆ้องวง จะเข้ ซอ บรรเลงแต่อย่างเดียวกัน การบรรเลงเครื่องดําเนินทํานองเพียงคนเดียวที่เรียกว่า “เดี่ยว” นี้ อาจมีเครื่องประกอบจังหวะเช่น ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง โทน รามะนา สองหน้า หรือกลองแขก บรรเลง ไปด้วยกันก็ได้ การบรรเลงเดี่ยวอาจบรรเลงตลอดทั้งเพลงหรือแทรกอยู่ในเพลงใดเพลงหนึ่งเป็น บางตอนก็ได้
อธิบาย : การบรรเลงเดี่ยวมีความประสงค์อยู่ 3 ประการ คือ
1. เพื่ออวดทาง คือวิธีดาเนินทานองของเครื่องดนตรีชนิดนั้น ซึ่งครูหรือผู้หนึ่งผู้ใดได้แต่งขึ้น
2. เพื่อความแม่นยําของผู้บรรเลง
3. เพื่ออวดฝีมือของผู้บรรเลงว่า กระทําได้ถูกต้องตามความประสงค์ของท่านผู้แต่ง
เพราะฉะนั้น การบรรเลงที่จะเรียกได้ว่า “เดี่ยว” จึงมิใช่จะหมายความแคบ ๆ เพียงบรรเลงคนเดียวเท่านั้น ที่จะเรียกว่าเดี่ยวได้โดยแท้จริงนั้น ทาง (การดําเนินทํานอง) ก็ควรจะให้เหมาะสมกับที่จะบรรเลงเดี่ยว เช่น มีโอดพันหรือวิธีการโลดโผนพลิกแพลงต่าง ๆ ตามสมควรแก่เครื่องดนตรีชนิดนั้นด้วย เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ทั้ง 3 ประการที่กล่าวมา
หมวด ต
ต้นเสียง
ได้แก่คนร้องที่เป็นผู้ร้องนํา หรือเป็นผู้ขึ้นต้นร้องเพลง หรือร้องเดี่ยว
ตับ
หมายถึงเพลงหลาย ๆ เพลง นามาร้องบรรเลงติดต่อกันไปซึ่งแยกออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ตับเรื่อง เพลงที่นํามารวมร้องและบรรเลงติดต่อกันนั้น มีบทร้องที่เป็นเรื่องเดียวกัน และดําเนินไปโดยลําดับ ฟังได้ติดต่อกันเป็นเรื่องราว ส่วนทํานองเพลงจะเป็นคนละอัตรา คนละประเภทหรือลักลั่นกันอย่างไรไม่ถือเป็นสําคัญเช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ เป็นต้น
2. ตับเพลง เพลงที่นํามาร้องรวมและบรรเลงติดต่อกันนั้น เป็นทํานองเพลงที่อยู่ในอัตราเดียวกัน (2 ชั้นหรือ 3 ชั้น) มีสํานวนทํานองสอดคล้องติดต่อกันสนิทสนม ส่วนบทร้องจะมีเนื้อเรื่องอย่างไร เรื่องเดียวกันหรือไม่ ไม่ถือเป็นสําคัญ เช่น ตับลมพัดชายเขา ตับเพลงยาว เป็นต้น ตับเพลงนี้บางทีก็เรียกว่า “เรื่อง” เฉพาะจําพวกเรื่องเพลงมโหรี
ตัว
เป็นคําที่ใช้เรียกแทนท่อนของเพลงบางประเภท เพลงที่เรียกว่า “ตัว” แทนคําว่า “ท่อน” ก็ได้แก่เพลงจาพวกตระและเชิดต่าง ๆ นอกจากเชิดนอก
หมวด ถ
ถอน
คือการบรรเลงตอนหัวต่อระหว่างที่หักจังหวะลงเข้าตัวหนึ่ง หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการเร่งจังหวะให้เร็วขึ้น และลดพยางค์ของการดําเนินทํานองลงครึ่งหนึ่ง เช่น ก่อนที่จะถอนนั้นดําเนินทํานอง “เก็บ” ได้จังหวะละ 8 พยางค์ เมื่อเร่งจังหวะให้เร็วขึ้นไปแล้ว ก็ลดการดําเนินทํานองเก็บนั้นลงให้เหลือจังหวะละ 4 พยางค์ หัวต่อระหว่างที่ใช้ 8 พยางค์กับ 4 พยางค์ นี้แหละ เรียกว่า ถอน
เถา
คือเพลงเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปตามลําดับไม่น้อยกว่า 3 ขั้น นามาร้องหรือบรรเลงติดต่อกัน
อธิบาย : หลักของการที่จะเรียกว่าเป็นเถา เพลงมีอัตราลดหลั่นกันไปตามลําดับ ทุก ๆ ชั้นนั้นจะต้องเป็นเพลงเดียวกัน และลดหลั่นกันลงไปไม่ตํ่ากว่า 3 ขั้น ทั้งจะต้องร้องหรือบรรเลงติดต่อกันโดยไม่ขาดระยะหรือมีเพลงอื่นมาแทรกแซง เช่นบรรเลงเพลงราตรีประดับดาว 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว ติดเป็นพืดกันไป ก็เรียกว่าเพลงราตรีประดับดาว เถา เทียบได้กับการวางภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ชามเบญจรงค์ชนิดเดียวกัน ซึ่งมีขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ซ้อนกันไว้ตามลาดับ เราก็เรียกชามนั้นว่า เถา หรือ สามใบเถา
การเรียกเพลงเป็นเถานี้ ใช่ว่าจะมีแต่ใหญ่ไปหาเล็ก คือ 3 ชั้น 2 ชั้น และจึงชั้นเดียว วิธีที่กลับกันคือ ชั้นเดียว 2 ชั้น และจึง 3 ชั้น ก็เคยมีใช้กันบ้าง แต่เป็นกรณีพิเศษ เช่น เดี่ยวระนาดเพลงพญาโศก เป็นต้น และการบรรเลงเพลงเถานั้นอาจลดหลั่นกันเกินกว่า 3 ขั้นก็ได้ แต่ยังไม่มีผู้กระทํากัน หากจะมีขึ้นก็ถือว่าไม่ผิด
หมวด ท
ทวน
ก. เป็นชื่อเรียกส่วนหนึ่งของคันซอ ซึ่งแยกออกเป็นทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ถ้าเป็นซออู้หรือซอสามสาย ตั้งใต้ลูกบิดขึ้นไปจนปลายคัน เรียกว่า ทวนบน แต่ซอด้วงซึ่งคันซอตอนนี้ขึ้นไปจนสุดยอดเป็นสี่เหลี่ยม จึงเรียกว่า โขน ไม่เรียกว่าทวน เพราะมีรูปร่างคล้ายโขนท้ายเรือ และคันตอนล่างของซออู้และซอด้วง นับตั้งแต่เหนือกะโหลก (ถ้าซอด้วงก็จะเหนือกระบอก) ซึ่งมักทําเป็นรูปบัวคว่าและลวดลายต่าง ๆ ขึ้นไปจนถึงส่วนกลางของคัน เรียกว่า ทวนล่าง เฉพาะซอสามสายตั้งแต่ลูกบิดลงมาถึงกะโหลก เรียก ทวนกลาง ใต้กะโหลกลงไป เรียกว่า ทวนล่าง จนต่อกับเข็มซึ่งทําด้วยโลหะปลายแหลม
ข. เป็นชื่อส่วนประกอบเสริมต่อของปี่ใน หรือปี่อื่น ๆ ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ส่วนที่เสริมต่อตอนบนสําหรับเสียบลิ้นปี่ซึ่งมักทําด้วยงา หรือไม้เนื้อแข็ง หรือวัตถุอื่น ๆ เรียกว่า ทวนบน ส่วนที่เสริมต่อตอนปลายล่าง เพื่อให้เสียงต่าลง ซึ่งมักทําด้วยครั่ง หรือขี้ผึ้ง หรือวัตถุอื่น เรียกว่า ทวนล่าง
ค. หมายถึงการร้องหรือการบรรเลงซํ้าอีกครั้งหนึ่ง อาจซํ้าเฉพาะตอน หรือทั้งท่อน หรือตลอดทั้งเพลง เรียกว่า ทวน ได้ทั้งสิ้น การร้องหรือการบรรเลงซํ้านี้ บางทีก็เรียกว่า “กลับ” (หรือกลับต้น) และบางทีก็เรียกว่า “ย้อน” (หรือย้อนต้น)
อธิบาย : โดยเฉพาะในข้อ ค. คําว่าทวนก็ดี กลับก็ดี ถ้าแปลความหมายให้ตรงกับถ้อยคําแล้ว ย่อมหมายถึงการถอยหลังขึ้นไปหาต้นทั้งนั้น เช่น บรรเลงเที่ยวแรกเป็น 1-2-3-4 เมื่อให้ทวน หรือกลับ หรือย้อน ก็ต้องเป็น 4-3-2-1 เหมือนกับคาว่า ทวนนํ้า กลับหลัง ย้อนทาง แต่นี่เป็นศัพท์สังคีต เป็นถ้อยคําความหมายเฉพาะวิชา จึงจะนําความหมายสามัญมาใช้ไม่ได้เพราะฉะนั้น การร้องหรือการบรรเลงที่เรียกว่า ทวน หรือกลับ หรือย้อน ต้องหมายความว่า ร้องหรือบรรเลงซํ้าเช่นเดิมอีกเที่ยวหนึ่ง เที่ยวแรกเป็น 1-2-3-4 ทวน (หรือกลับ หรือย้อน) อีกเที่ยว ก็ต้องเป็น 1-2-3-4 เหมือนกัน แต่อาจเปลี่ยนทํานองพลิกแพลงให้ไพเราะผิดแปลกจากเที่ยวแรกก็ได้ เช่นการร้องเพลงร่ายประกอบการแสดงละคร ถ้าเขาบอกว่าทวนก็หมายความว่าต้องร้องซํ้า 2 ครั้ง ทุก ๆ คํากลอน (หรือเฉพาะคําใดคําหนึ่ง แล้วแต่ความประสงค์)
ทอด
ก. หมายถึงการผ่อนจังหวะให้ช้าลง โดยมากใช้กับการบรรเลงที่จะจบเพลงหรือจบท่อน เพื่อความเรียบร้อยพร้อมเพรียง เช่น ทอดให้ร้อง ก็หมายถึงผ่อนจังหวะให้ช้าลงเพื่อสะดวก แก่การร้อง
ข. หมายถึงการร้องเพลงละครอย่างหนึ่ง เช่น เพลงร่าย หรือเพลงชมตลาดเป็นต้น ในตอนที่จะหยุดให้เจรจา การร้องนี้จะต้องแทรกเอื้อนเล็กน้อย ซึ่งมี 2 อย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่า “ทอดเต็ม” คือ ร้องทอดเต็มคํากลอน (2 วรรค) เช่นบทว่า “ได้ยินแว่วเสียงชนนี มาร้องเรียกอยู่ที่ประตูบ้าน” อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “ทอดครึ่ง”คือร้องทอดเพียงครึ่งของคํากลอน (วรรคเดียว) วรรคแรกเท่านั้น เช่นบทว่า “จงช่วยกันเร่งรัดจัดแจ้ง”
ท่อน
คือกําหนดส่วนใหญ่ส่วนหนึ่ง ๆ ซึ่งแบ่งออกจากเพลง คล้ายกับย่อหน้าที่มีความหมายสาคัญ ในเรื่องต่าง ๆ
อธิบาย : โดยปรกติเมื่อบรรเลงเพลงใดก็ตามหากจบท่อนหนึ่ง ๆ แล้วมากลับต้นบรรเลงซํ้าท่อนนั้นอีกครั้งหนึ่ง ที่กล่าวมานี้มิใช่ว่าเพลงทุกเพลงจะต้องมีหลาย ๆ ท่อนเสมอไป บางเพลงอาจมีท่อนเดียวจบ หรือมี 2 ท่อน หรือหลาย ๆ ท่อนจึงจบก็ได้
ทาง
คํานี้มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประการ คือ
1. หมายถึงวิธีดําเนินทํานองโดยเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง เช่น ทางระนาดเอก ทางระนาดทุ้ม และทางซอ ซึ่งแต่ละอย่างต่างก็มีวิธีดําเนินทานองของตนแตกต่างกัน
2. หมายถึงวิธีดําเนินทํานองของเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ เช่น ทางของครู ก. ครู ข. หรือทางเดี่ยว ทางหมู่ ทางพื้น ทางกรอ และทางลูกล้อลูกขัด ซึ่งแม้จะบรรเลงเพลงด้วย เครื่องดนตรีอย่างเดียวกันก็ดําเนินทํานองไม่เหมือนกัน
3. หมายถึงระดับเสียงของเพลงที่บรรเลง (Key) ซึ่งกําหนดชื่อที่เป็นที่หมายรู้กันทุก ๆ เสียง ดังจะจําแนกเรียงลําดับขึ้นไปทีละเสียงขึ้นไป ต่อไปนี้
ก.ทางเพียงออล่าง (หรือทางในลด) เรียกตามชื่อลูกฆ้องวงใหญ่ลูกที่ 10 (นับจากลูกที่มีเสียงตํ่าที่สุด) ลูกฆ้องลูกนี้เรียกว่า “ลูกเพียงออ” อนุโลมเทียบเสียงของดนตรีสากลตรงกับเสียง ฟาร์ เพราะเมื่อบรรเลงทางนี้ เสียงฆ้องลูกนี้มักจะเป็นเสียงหลัก (Tonic) หรือเป็นเสียงที่ปกครอง(Governing Sound) ทางนี้ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดําบรรพ์ หรือละครอื่น ๆ ที่บรรเลงด้วยปี่พาทย์ไม้นวม เดิมเรียกการบรรเลงทางนี้เพียงว่า “ทางเพียงออ” แต่เมื่อมีทางบรรเลงของวงมโหรีและเครื่องสาย ซึ่งเรียกว่าทางเพียงออเหมือนกัน จึงต้องแยกเป็นทางเพียงออล่าง และทางเพียงออบน ที่เรียกทางนี้อีกอย่างว่าทางในลดนั้น หมายถึงว่า บรรเลงลดจากทางในลงมา 1 เสียง
ข.ทางใน สูงกว่าทางเพียงออล่าง 1 เสียง เสียงที่เป็น Tonic จึงเทียบได้กับเสียง ซอล ที่เรียกว่าทางในนี้เรียกชื่อตามปี่ที่ใช้เป่าในวงปี่พาทย์ประจํากับเสียงนี้ ซึ่งเป่าได้ถนัดและสะดวกที่สุด ปี่นี้ชื่อว่า “ปี่ใน” ทางนี้มักใช้บรรเลงประกอบละครในหรือละครนอกและโขนในปัจจุบัน
ค.ทางกลาง สูงกว่าทางใน 1 เสียง เสียงที่เป็น Tonic จึงเทียบได้กับเสียง ลา ที่เรียกว่าทางกลางนี้ เรียกตามชื่อ “ปี่กลาง” ซึ่งใช้เป่าในวงปี่พาทย์ประจํากับเสียงนี้ได้ถนัดและสะดวกที่สุด ทางนี้ใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังใหญ่และโขนในสมัยโบราณ
ง.ทางเพียงออบน (หรือทางนอกต่า) สูงกว่าทางกลาง 1 เสียง เสียงที่เป็น Tonic จึงเทียบได้กับเสียง ซีแฟลต ที่เรียกว่าทางเพียงออบนนี้ เรียกตามชื่อ “ขลุ่ยเพียงออ” ซึ่งใช้เป่าประจากับเสียงนี้ และเพื่อให้แตกต่างกับทางเพียงออล่าง จึงเติมคําว่า “บน” ดังกล่าวแล้ว ทางนี้บางทีก็เรียกว่าทางนอกต่า เพราะตํ่ากว่าทางนอกลงมา 1 เสียง และเรียกตามชื่อ “ปี่นอกตํ่า” ที่เป่าประจํากับเสียงนี้ได้ถนัดและสะดวกที่สุด ทางนี้ใช้บรรเลงประจํากับการบรรเลงมโหรีและเครื่องสาย หรือปี่พาทย์ ที่บรรเลงสําเนียงมอญเช่น แขกมอญ สุดสงวน
จ.ทางกรวด (หรือทางนอก) สูงกว่าทางเพียงออบน 1 เสียง เสียงที่เป็น Tonic จึงเทียบได้กับเสียง โด ที่เรียกว่าทางกรวด เห็นจะด้วยเป็นทางที่มีเสียงสูงที่สุดของการบรรเลงปี่พาทย์ แต่ที่เรียกว่าทางนอกนั้น เรียกตามชื่อ “ปี่นอก” ที่เป่าประกอบกับเสียงนี้ได้ถนัดและสะดวกที่สุด โดยใช้นิ้วเดียวกันกับเสียงปี่ในเป่าทางใน ทางนอกนี้ใช้บรรเลงประกอบกับการขับเสภาหรือบรรเลงปี่พาทย์รับร้องโดยปรกติ ละครนอกในสมัยโบราณซึ่งผู้แสดงเป็นชายก็ใช้เสียงนี้
ฉ.ทางกลางแหบ สูงกว่าทางกรวด 1 เสียง เสียงที่เป็น Tonic จึงเทียบได้กับเสียง เร ที่เรียกว่าทางกลางแหบนี้ ก็ด้วยเมื่อบรรเลงทางนี้ปี่กลางต้องเป่าแหบโดยมาก เหมือนอย่างปี่ในเป่าทางนอก ทางนี้มิได้ใช้ประจากับการแสดงอะไร มักจะแทรกอยู่ในการบรรเลงเพลงที่เป็นทางใน เมื่อย้ายบันไดเสียงเช่นเพลงจําพวกทยอย (นอกจากทยอยนอก)
ช.ทางชวา สูงกว่าทางกลางแหบ 1 เสียง เสียงที่เป็น Tonic จึงเทียบได้กับเสียง มี ที่เรียกว่าทางชวา ก็เรียกตามชื่อ “ปี่ชวา” ซึ่งเป่ากับเสียงนี้ได้ถนัดและสะดวกที่สุด ทางนี้ใช้ประจํากับการบรรเลงที่มีปี่ชวา เช่น เครื่องสายปี่ชวา เป็นต้น ยกเว้นการบรรเลงปี่พาทย์นางหงส์ ซึ่งแม้จะผสมปี่ชวาก็ไม่บรรเลงทางชวา หากแต่บรรเลงทางเพียงออบนหรือทางนอกตํ่า เพื่อสะดวกแก่การบรรเลงเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในวงปี่พาทย์
หมายเหตุ : ทางทั้ง 7 เสียงนี้ มิใช่ว่าเมื่อบรรเลงทางซึ่งเป็นระดับเสียง (Key) ใด จะต้องคงอยู่ในทางนั้นเสมอไป เพราะเพลงบางเพลงท่านผู้แต่งได้ย้ายระดับเสียงอยู่ในตัว หรือบางเพลงก็มีประเพณีกําหนดให้เปลี่ยนระดับเสียง ก็ต้องบรรเลงเปลี่ยนทางไปตามความเหมาะสมของเพลงนั้น ๆ
ทํานอง
คือเสียงสูง ๆ ตํ่า ๆ ซึ่งสลับสับสนกัน จะมีความสั้นยาวเบาแรงอย่างไร ก็แล้วแต่ความประสงค์ของผู้แต่งจะประดิษฐ์เรียบเรียง
เท่า
บางทีก็เรียกว่า “ลูกเท่า” เป็นทํานองเพลงพิเศษตอนหนึ่ง ซึ่งไม่มีความหมาย ในตัวอย่างใด หากแต่มีความประสงค์อยู่อย่างเดียวเพียงให้ทํานองนั้นยืนอยู่ ณ เสียงใดเสียงหนึ่ง แต่เพียงเสียงเดียว เท่า หรือ ลูกเท่านี้จะต้องอยู่ในกําหนดบังคับของจังหวะหน้าทับ โดยมีความยาวเพียงครึ่งจังหวะหน้าทับ (จากในเพลงเรื่องบางเพลง เท่าอาจยาวเป็นพิเศษถึงยาวเต็มจังหวะก็ได้) และโดยปรกติมีแทรกอยู่ในเพลงประเภทหน้าทับปรบไก่
ประโยชน์ของ “เท่า” นี้ มีไว้เพื่อแทรกในระหว่างประโยควรรคตอนของทํานองเพลง เพื่อเชื่อมให้ประโยคหรือวรรคตอนของเพลงติดต่อกันสนิทสนม หรือเพิ่มให้ครบถ้วนจังหวะ หน้าทับ เทียบได้กับคําสันธานที่ใช้ในอักษรศาสตร์
อธิบาย : ที่ว่าเท่าประสงค์เพียงจะยืนอยู่ในเสียงใดเสียงหนึ่งแต่เสียงเดียวนั้น มิใช่ว่าจะบรรเลงหรือร้องเฉพาะแต่เสียงนั้นเสียงเดียว ทํานองของเท่าย่อมประดิษฐ์ดัดแปลงให้ไพเราะไปได้ตามพอใจ แต่ว่าจะต้องอยู่ในลักษณะของเท่า แต่ตกอยู่ในเสียงที่ประสงค์จะยืนอยู่ ดังโน้ตตัวอย่าง “เท่า” อัตราสองชั้น ต่อไปนี้
หมวด น
เนื้อ
ก. ใช้เรียกบทประพันธ์ซึ่งเป็นถ้อยคําที่ใช้ขับร้อง แต่เพื่อให้ได้ความหมายชัดเจน มักจะเรียกว่า “เนื้อร้อง”
ข. ใช้เรียกการตีเครื่องหนังหรือทํานองเพลงที่เป็นเนื้อแท้ของเพลงจริง ๆ คือทํานองที่ไม่ได้ตบแต่งพลิกแพลงอย่างใด ถ้าจะเรียกให้ได้ความหมายชัดเจนก็เรียกว่า “เนื้อเพลง” ฆ้องวงใหญ่ที่ตีโดยปรกตินั้นคือเนื้อ เรียกว่า “เนื้อฆ้อง” ส่วนระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฯลฯ ย่อมดําเนินทํานองพลิกแพลงออกไป เปรียบเทียบได้กับหนังหรือขน ซึ่งหุ้มห่อตบแต่งให้เนื้องดงามขึ้น (ดูโน้ตเปรียบเทียบที่คําว่าสะบัด)
แนว
1. ขนาดหรือกําลังความช้าเร็วของการดําเนินจังหวะ ที่พูดกันว่า แนวดีก็คือ ในขณะบรรเลงหรือขับร้องได้รักษาขนาดหรือกําลังความช้าเร็วของจังหวะไวโดยเรียบร้อยสม่าเสมอและเหมาะสมกับทํานองเพลงนั้น ๆ เพลงใด ตรงไหน ควรช้าเร็วเพียงใด ก็ปฏิบัติอย่างนั้น
2.การดําเนินทํานองของเครื่องดนตรีแต่ละอย่างหรือการขับร้อง ซึ่งตรงกับคําว่าทาง เช่น แนวปี่ แนวระนาด และแนวร้อง เป็นต้น แต่โดยมากมักจะใช้คําพูดเวลาที่ดูโน้ตในฉบับรวมเครื่อง (Score)
หมวด ป
ปรบไก่
เป็นชื่อของหน้าทับประเภทหนึ่ง ซึ่งมีสัดส่วนค่อนข้างยาว (ทุก ๆ อัตรามีความยาวเป็น 2 เท่าของหน้าทับสองไม้) สําหรับตีประกอบกับเพลงที่มีทํานองดําเนินประโยควรรคตอนเป็นระเบียบ
อธิบาย : หน้าทับประเภทที่เรียกว่าปรบไก่นี้ ปราชญ์ทางดนตรีโบราณได้คิดอัตรา 2 ชั้นขึ้นก่อน โดยแปลงจากเสียงร้องของลูกคู่ในการร้องเพลงปรบไก่ (เพลงพื้นเมืองโบราณอย่างหนึ่ง) มาเป็นวิธีตีของตะโพน คารับและทานองร้องของลูกคู่เพลงปรบไก่นั้นร้องว่า “ฉ่า ฉ่า ฉ่า ช้า-ชะฉ่า ไฮ้” และเปลี่ยนมาเป็นเสียงตะโพน ดังนี้
หน้าทับนี้จึงเรียกว่า ปรบไก่ เมื่อขยายขึ้นเป็นอัตรา 3 ชั้นหรือตัดลงเป็นชั้นเดียว ก็คงเรียกว่าหน้าทับปรบไก่เช่นเดิม หน้าทับปรบไก่นี้เป็นมูลให้ประดิษฐ์หน้าทับอื่น ๆ ขึ้นอีก หลายหน้าทับ เช่น หน้าทับเขมร และหน้าทับสดายง (สาหรับเพลงสําเนียงแขก) เป็นต้น
ประ
เป็นวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งของเครื่องดนตรีประเภทที่ใช้นิ้วบังคับเสียงสูงตํ่า (เช่น ซอ) ในเมื่อทํานองเพลงตอนนั้นเป็นเสียงยาวจึงใช้ กลางนิ้ว แตะเร็ว ๆ ก็จะบังเกิดเป็นเสียงที่สูงขึ้นไปสลับกับเสียงเดิมถี่ ๆ
ประคบ
หมายถึงการบรรเลงที่ทําให้เสียงดนตรีนั้นดังชัดเจนถูกต้องตามความเหมาะสมของทํานองเพลง
อธิบาย : การบรรเลงดนตรีไม่ว่าจะเป็นประเภท ดีด สี ตี หรือเป่า นอกจากทําเสียงสูงต่าถูกทํานองแล้ว จะต้องให้เสียงดังเหมาะสมกับทํานองด้วย เช่น ตีฆ้องวงใหญ่ แม้เป็นฆ้องลูกเดียว บางครั้งก็ต้องตีให้ดัง “หนอด” บางครั้งก็ต้องตีให้ดัง “หน่ง” การสีซอบางครั้งก็ต้องทําให้หวาน ให้เพราะ ให้ดุดัน ซึ่งจะชัดเจนได้ก็ด้วยการประคบทั้งนั้น และเครื่องดสนตรีชนิดอื่น ๆ ก็เป็นเช่นเดียวกัน เปรียบให้เห็นเง่าย ๆ ก็เหมือนกับการพูดอักษร ร และ ล ก็ต้องกําหนดให้รู้ว่าคําไหนควรทําปากอย่างไร และลิ้นจดตรงไหน อย่างไร ซึ่งในภาษาของดนตรีเรียกว่าการประคบทั้งสิ้น
ประสาน
เป็นการบรรเลงหรือร้องคนละทางในเพลงเดียวกันและพร้อม ๆ กัน อาจเป็นเครื่องดนตรีกับเครื่องดนตรี หรือร้องกับร้อง หรือดนตรีกับร้องก็ได้ เสียงของดนตรีที่ร้องแยกกันเป็นคนละทางย่อมมีเสียงที่ตกจังหวะเป็นคนละเสียงบ้าง รวมเป็นเสียงเดียวกันบ้าง เช่นเดียวกับหลัก การประสานเสียง (Harmony) ของดนตรีสากล เช่นการร้องเพลงช้าประสมเสียงระฆัง ในละคร ดึกดําบรรพ์เรื่องอิเหนา พระนิพนธ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นต้น
ปริบ
เป็นวิธีการบรรเลงอย่างหนึ่ง ที่ทําให้เกิดเสียงเต้นระริกไปในตัวเล็กน้อย เครื่องดนตรีจําพวกใช้นิ้ว (เช่น ปี่หรือซอ) ก็ขยับนิ้วให้สั่นสะเทือนขึ้น คล้ายกับทําให้เสียงนั้นรั่วปริบออกมา ส่วนเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่นฆ้องวง) ก็ตีลงไปโดยทําให้ไม้ตีสั่นสะเทือนสะท้อนขึ้นมานิดหน่อย
อธิบาย : เสียงที่เกิดจากการปฏิบัติที่เรียกว่า “ปริบ” นี้ก็ดังคล้ายกับที่ปากเรา พูดคําว่า “ปริบ” นี่แล
หมวด พ
พรม
เป็นวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งของเครื่องดนตรีประเภทที่ใช้นิ้วบังคับเสียงสูงตํ่า (เช่น ซอ) ในเมื่อทํานองเพลงตอนนั้นมีเสียงยาวพอควร จึงใช้ปลายนิ้วแตะเร็ว ๆ ก็จะบังเกิดเสียงที่สูงขึ้นไปสลับกับเสียงเดิมถี่ ๆ
อธิบาย : ความประสงค์ของ “พรม” นี้ก็เป็นอย่างเดียวกับ “ประ” แต่เสียง ที่เกิดขึ้นนั้น พรมละเอียดกว่าประ ส่วนที่ที่จะใช้ประหรือพรมก็แล้วแต่ความสมควรของทํานองเพลงตอนนั้น
พัน
ก.เป็นชื่อเรียกเพลงตอนหลังของเพลงองค์พระพิราพ
ข.หมายถึงดําเนินทํานองเพลงอย่างหนึ่ง ซึ่งดําเนินไปโดยการแทรกแซงเสียงให้ถี่ ดังที่เรียกว่า เก็บ โดยให้ทํานองเกี่ยวพันไปกับเนื้อเพลงเหมือนเถาวัลย์พันไม้ บางท่านก็ว่า เป็นการดําเนินทํานอง ไปในระดับเสียงตํ่า
เพลง
คือทํานองที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีส่วนสัด มีจังหวะวรรคตอน และสัมผัสถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของดุริยางคศิลป์ เช่นเดียวกับบทกวีที่แต่งขึ้นโดยใช้ถ้อยคํา เสียง อักษร สระ และวรรณยุกต์ ตามกฎแห่งฉันทลักษณ์ เพลงหนึ่งจะมีกี่จังหวะ กี่ท่อน ไม่บังคับ แต่แบบแผนของเพลงไทยที่มีมาแต่โบราณ ท่อนหนึ่ง ๆ ไม่เคยมีน้อยกว่า 2 จังหวะ (หน้าทับ) เลย สมัยโบราณบางทีก็เรียกว่า “ลา”
เพี้ยน
คือ เสียงที่ไม่ตรงกับระดับเสียงที่ถูกต้อง
อธิบาย : ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้องหรือเสียงของเครื่องดนตรีชนิดใด ๆ จะเป็นเสียงเดียวหรือหลายเสียงก็ตาม ถ้าเสียงนั้นผิดจากระดับเสียงที่ถูกที่ควร ไม่ว่าสูงไปหรือตํ่าไปแม้แต่เพียงเล็กน้อย ย่อมเรียกได้ว่าเพี้ยนทั้งสิ้น เช่น ร้องสูงหรือร้องตํ่ากว่าเสียงดนตรี หรือเครื่องดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่งเทียบไม่ตรงกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในวงเดียวกัน หรือเครื่องดนตรีนั้นมีเสียงถูกต้องแล้ว แต่ผู้บรรเลงได้ปฏิบัติผิดพลาด ทําให้เสียงผิดระดับ เช่น การกดนิ้วซอผิดส่วนสัดเป็นต้น เสียงที่ไม่ตรงระดับเช่นนี้เรียกว่าเพี้ยนทั้งนั้น
หมวด ม
ไม้
ก. เป็นกําหนดนับจํานวนการตี กลองทัดที่เรียกว่า “ไม้เดิน” แต่ละที การตีไม้เดินทีหนึ่งก็เรียกว่า 1 ไม้ 2 ทีก็เรียกว่า 2 ไม้
ข. ใช้เรียกแทนคาว่า “ท่อน” ของการตีกลองแขกหน้าทับเพลงสะระหม่า เช่น ไม้ 1 ก็หมายถึงท่อน 1 ไม้ 2 ก็หมายถึงท่อน 2 และไม้สร้อยสนก็หมายถึงท่อนที่เรียกว่าสร้อยสนเป็นต้น
ค. เรียกการตีส่ายของกลองแขกและกลองมาลายู
ง. เรียกวิธีขยับกรับเสภาแต่ละแบบ เช่น ไม้กรอ ไม้ 1 ไม้ 2 และไม้รบ เป็นต้น
ไม้กลอง
ได้แก่การตี กลองทัด ตามแบบแผนที่บัญญัติไว้เป็นประจํากับทํานองเพลงนั้น ๆ
อธิบาย : กลองทัดก็มีหน้าที่ตีให้ถูกต้องตามแบบแผนที่บัญญัติไว้เป็นประจํากับทํานองเพลงต่าง ๆ เช่นเดียวกับเครื่องขึงด้วยหนังเลียนเสียงจากทับ ต้องตีตามหน้าทับ แต่กลองทัดเป็นเครื่องขึงด้วยหนังประกอบจังหวะอีกแบบหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เลียนเสียงมาจากทับ เพราะฉะนั้น วิธีตีกลองทัดจึงเรียกว่า “ไม้กลอง” ไม่ได้เรียกว่าหน้าทับ
ไม้เดิน
เป็นการตีกลองทัดที่ดําเนินเรื่อย ๆ ไปตามจังหวะ โดยมิได้มีการตีสอดแทรกแซงให้กระชั้นเข้าไป คือตีดําเนินไปตามจังหวะอันสมํ่าเสมอ ซึ่งจะถี่หรือห่างเท่าใดนั้น แล้วแต่ลักษณะของทํานองเพลง “ไม้เดิน” เป็นที่กําหนดนับว่าเพลงนั้น ๆ มีกี่ไม้ แล้วจึงออกไม้ลา เช่นเพลงตระนิมิต กลองทัดจะตีดําเนินไปตามจังหวะ 4 ครั้ง แล้วตีไม้ลา จึงเรียกว่าเพลงตระนิมิตมี 4 ไม้ลา
ไม้ลา
คือการตีกลองทัดที่สอดแทรกสลับการตีกระชั้นบ้าง ลักจังหวะบ้าง ตรงจังหวะบ้าง มักอยู่ตอนจบเพลงหรือจบตอน
หมวด ย
ย้อย
หมายถึงการร้องหรือบรรเลงอย่างหนึ่ง ซึ่งประดิษฐ์ทํานองให้เสียงที่ควรจะตกลงจังหวะ ไปตกลงภายหลังจังหวะ เมื่อเป็นเช่นนี้ ทํานองของประโยคนั้นก็จะจําต้องยาวกว่าประโยคธรรมดา
อธิบาย : วิธีการเรียกว่า “ย้อย” นี้ ตรงกันข้ามกับล่วงหน้า เพราะล่วงหน้านั้นตัดทํานองให้สั้น เพื่อที่จะให้หมดประโยคก่อนจังหวะ แต่ย้อยต้องยืดทํานองให้ยาว เพื่อที่จะให้หมดประโยคทีหลังจังหวะ การร้องเพลงเกือบจะทุกเพลง ถ้าถ้อยคําตรงที่ลงจังหวะเป็นเสียงไม่ตรงกับทํานอง ผู้ร้องก็จําจะต้องร้องให้ชัดถ้อยคําเสียก่อน แล้วจึงเอื้อนไปหาเสียงเพลง วิธีร้องอย่างนี้ ถือได้ว่าเป็นย้อยทั้งสิ้น เพราะเสียงสําคัญของทํานอง ลงภายหลังจังหวะ
โยน
บางทีก็เรียกว่า ”ลูกโยน” เป็นทํานอง เพลงพิเศษตอนหนึ่งซึ่งไม่มีความหมาย ในตัวอย่างไร หากแต่มีความประสงค์อยู่อย่างเดียวเพียงให้ทานองตอนนั้นยืนอยู่ ณ เสียงใดเสียงหนึ่งแต่เสียงเดียว แต่โยนหรือลูกโยนนี้ไม่บังคับในเรื่องกําหนดจํานวนจังหวะ จะบรรเลงโยนอยู่มากน้อย กี่จังหวะก็ได้ และโยนนี้จะมีแทรกอยู่แต่ในเพลงประเภทหน้าทับสองไม้เท่านั้น
ประโยชน์ของ “โยน” มีไว้เพื่อเป็นที่พักของเพลงบางตอน และเพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้ร้อง ผู้บรรเลง หรือผู้แต่งเพลง ได้ประดิษฐ์ทานองดัดแปลงออกไปได้ตามพอใจ จะสั้นยาวเท่าใด ก็ได้ เพียงแต่เมื่อสุดท้ายของการพลิกแพลงไปแล้ว ให้มาตกอยู่ที่เสียงอันเป็นความประสงค์ของโยน ตอนนั้นเท่านั้น
อธิบาย : ที่ว่า “โยน” ไม่บังคับในเรื่องจํานวนจังหวะนั้นหมายความว่าจะโยนอยู่เพียง 2-3 จังหวะก็ได้ หรือจะให้มากไปถึง 10 – 20 จังหวะก็ได้ไม่เป็นผิดทั้งสิ้น โยนหรือลูกโยนนี้ ถ้าจะเปรียบให้เห็นง่าย ๆ ก็คล้ายกับการไว้ชิงช้า เราจะไกวแรงหรือเบาก็ได้ ไกวแรงก็แกว่งไปไกลและหลายเที่ยวกว่าจะหยุด ถ้าไกวเบาก็แกว่งใกล้ ๆ และไม่กี่เที่ยวก็หยุด แต่จะไกวแรง หรือเบาก็ตาม ก็จะต้องผ่านเส้นศูนย์อยู่เสมอ และในที่สุดเมื่อหยุดลง ก็ต้องมาหยุดอยู่ตรงเส้นศูนย์ด้วยกัน โยนก็มีลักษณะอย่างนี้ ใครจะประดิษฐ์ให้พิสดารอย่างใดก็ได้ บรรเลงเป็นลูกล้อลูกขัดก็ได้ แต่ที่สุดจะต้องมาตกอยู่ที่เสียงอันเป็นความประสงค์ของโยนตอนนั้น ดังโน้ตตัวอย่าง “โยน” อัตรา 2 ชั้น ต่อไปนี้
หมวด ร
ร้อง
คือการเปล่งเสียงออกไปให้เป็นทํานอง จะมีถ้อยคําหรือไม่มี หรือมีแต่สระอะไรก็ได้ แต่ต้องถือทํานองเป็นสําคัญ ถ้อยคําต้องน้อมเข้าหาทํานอง เช่น ร้องเพลงต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนการร้องเพลงพื้นเมืองต่าง ๆ มีวิธีการอย่างขับ ระคนอยู่เป็นอันมาก
รัว
คานี้มีความหมาย 2 ประการ คือ
1. หมายถึงชื่อเพลงไทยเพลงหนึ่ง ซึ่งทํานองเพลง บางตอนยืนอยู่เสียงเดียวนาน ๆ แต่ซอยลงเป็นหลาย ๆ พยางค์ และเร่งให้ค่อย ๆ ถี่ขึ้นไปโดยไม่จํากัดเพราะในตอนที่ยืนเสียงอยู่ ณ เสียงใดเสียงหนึ่งนี้ ไม่มีจังหวะควบคุม เพลงรัวมีทั้งลาเดียวและ 3 ลา มักใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบการแสดงอภินิหารต่าง ๆ กับใช้เป็นเพลงต่อท้ายเพลงเสมอ เพลงตระ และเพลงบรรเลงในการไหว้ครูเกือบทุกเพลง เป็นเพลงที่บรรเลงหมายถึงความสําเร็จ
2. หมายถึงวิธีบรรเลงที่ทําเสียงหลาย ๆ พยางค์ให้สั้นและถี่ที่สุด ถ้าเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด) ก็ใช้ตีสลับกัน 2 มือ เครื่องดนตรีประเภทสี (เช่น ซอ) ก็ใช้คันชักสีสั้น ๆ เร็ว ๆ เครื่องดนตรีประเภทดีด (เช่น จะเข้) ก็ใช้ไม้ดีด ดีดเข้าออกสลับกันเร็ว ๆ และเครื่องดนตรีประเภทเป่า (เช่น ขลุ่ย) ก็รัวด้วยนิ้วเปิดปิดให้ถี่และเร็วที่สุด
รัวในประการที่ 2 นี้ ถ้าเป็นวิธีบรรเลงของระนาดเอกยังแยกออกได้เป็น 2 อย่าง คือ รัวเสียงเดียวอย่างหนึ่ง กับรัวเป็นทํานองอีกอย่างหนึ่ง
ก. รัวเสียงเดียว คือใช้ไม้ตีสลับกัน 2 มือ ลงบนลูกระนาดลูกเดียวกันให้ถี่ที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยไม่ต้องคํานึงว่าทุก ๆ พยางค์จะต้องย่อยส่วนลงตามจังหวะ การตีรัวเสียงเดียวนี้ จะย้ายเสียงไปตามทํานองเพลงได้ตามพอใจ แต่ทั้ง 2 มือจะต้องตีอยู่ที่ลูกระนาดลูกเดียวกันเสมอ
ข. รัวเป็นทํานอง คือตีการสลับกัน 2 มือ ให้ถี่ ๆ และดําเนินเป็นทํานองไปด้วยเพราะฉะนั้น ทั้ง 2 มือที่ตีลงบนลูกระนาด จึงเป็นคนละลูกโดยมากและพยางค์ของเสียงจะต้องย่อยลงตามจังหวะ ให้ถี่เป็น 2 เท่าของ “เก็บ” เช่นเดียวกับ “ขยี้” แต่การปฏิบัติของระนาดเอก เวลา “ขยี้” อยู่ในเวลาดําเนินจังหวะค่อนข้างช้า แต่เวลา “รัว” (เป็นทํานอง) อยู่ในเวลาดําเนินจังหวะเร็ว นอกจากนั้น เวลา “ขยี้” ระนาดตี 2 มือเป็นคู่ 8 ทุกเสียง แต่ว่า “รัว” ตีด้วยมือซ้ายและขวา สลับมือละเสียงต่อกันเป็นทํานอง ดังโน้ตตัวอย่างเปรียบเทียบต่อไปนี้
รื้อ
เป็นทํานองอย่างหนึ่ง ที่ใช้ในตอนขึ้นของเพลงร่าย ซึ่งมีเอื้อนและทอดเสียงให้ภาคภูมิ มักจะใช้เฉพาะในบทที่ขึ้นข้อความสําคัญ ๆ เท่านั้น
เรื่อง
คือเพลงหลาย ๆ เพลง นํามาจัดรวมบรรเลงติดต่อกันไป เพลงทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า “เพลงเรื่อง” และตั้งชื่อเรื่องต่าง ๆ กันแล้วแต่กรณี
อธิบาย : ในการตั้งชื่อเรื่องนี้ โดยปรกติตั้งตามชื่อของเพลงที่บรรเลงเป็นอันดับแรก หรือเพลงที่สําคัญในเรื่องนั้น เช่นจําพวกเพลงเรื่องมโหรี ก็มี เรื่องพระนเรศวรชนช้าง ซึ่งมีเพลงนเรศวรชนช้างเป็นเพลงแรก เรื่องเพลงยาวก็มีเพลงทะแยเป็นอันดับแรก แต่เพลงยาวเป็นเพลง สําคัญ ยาวถึง 7 ท่อน ฯลฯ (เพลงเรื่องจําพวกมโหรีนี้ บางทีก็เรียกว่า”ตับ”) จําพวกเพลงช้าก็มี เรื่องเต่ากินผักบุ้ง เรื่องสารถี เป็นต้น จําพวกสองไม้ก็มีเรื่องสีนวล เรื่องทยอย เป็นต้น จําพวกเพลงเร็วก็มีเรื่องแขกมัดตีนหมู เรื่องแขกบรเทศ เป็นต้น และจําพวกเพลงฉิ่งก็มีเรื่องมุล่ง เรื่องช้างประสานงา เป็นต้น เหล่านี้เรียกตามชื่อเพลงอันดับแรกทั้งนั้น แต่บางเรื่องเรียกชื่อเรื่องตามกิจการที่บรรเลงประกอบก็มี เช่น เรื่องทําขวัญ (หรือเวียนเทียน) ซึ่งเพลงอันดับแรกเป็นเพลงนางนาค แต่ใช้ในกรณี ทําขวัญหรือเวียนเทียนสมโภช และบางเรื่องก็เรียกตามหน้าทับ เช่นเรื่องนางหงส์ ซึ่งใช้ประโคมศพ เพลงที่บรรเลงขึ้นต้นด้วยเพลงพราหมณ์เก็บหัวแหวน แต่กลองมลายูที่ตีประกอบจังหวะ ตีหน้าทับนางหงส์ ดังนี้เป็นต้น
หมวด ล
ล่วงหน้า
หมายถึงการร้องหรือบรรเลงอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเครื่องดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่งพลิกแพลงทํานองบรรเลงโดยตัดทํานองให้สั้น เพื่อไปถึงเสียงที่ตกจังหวะให้ตกก่อนเครื่องดนตรีอื่น ๆ คือบรรเลงขึ้นต้นประโยคพร้อมกับเครื่องดนตรีอื่น แต่ให้ไปถึงที่สุดประโยคก่อน
อธิบาย : วิธีการบรรเลงแบบนี้ มักเป็นการบรรเลงประจําของระนาดทุ้มไม้ ทุ้มเหล็ก และซออู้ แต่เครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น ระนาดเอก และซอด้วง ก็มีใช้อยู่บ้างบางโอกาส ลักษณะของล่วงหน้า มีดังตัวโน้ตอย่างข้างล่างนี้
ถ้าจะเปรียบเทียบกับคําว่าเหลื่อม จะเห็นว่าผิดกันตรงที่เหลื่อมแบ่งผู้บรรเลงเป็นพวกหน้าพวกหลัง ขนาดของประโยคบรรเลงยาวเท่ากัน พวกที่จะเหลื่อมต้องบรรเลงขึ้นมาก่อน และเป็นการบรรเลงตามที่ท่านผู้แต่งเพลงได้กําหนดไว้แล้ว ส่วนล่วงหน้านี้เป็นวิธีการของเครื่องดนตรีอย่างใด อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้บรรเลงได้ประดิษฐ์ขึ้นเอง ไม่มีการแบ่งพวกและทํานองที่บรรเลงก็ขึ้นต้นประโยค มาพร้อม ๆ กัน หากแต่รีบหาทางตัดให้สั้น ล่วงหน้าไปให้ถึงเสียงท้ายประโยคก่อนผู้อื่นเท่านั้น
ล้วง
ได้แก่การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเพิ่มทํานองบรรเลงล้าเข้ามาก่อนที่จะถึงหน้าที่บรรเลงตามปรกติ
อธิบาย : วิธีการอย่างนี้มักจะมีในตอนที่บรรเลงลูกล้อลูกขัด หรือเวลาที่จะรับ จากร้อง คือก่อนที่จะถึงหน้าที่บรรเลงตามปรกติของตน ก็หาทํานองอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรเลงขึ้นมาก่อนที่อีกฝ่ายหนึ่งจะจบ
ล่อน
ได้แก่การปฏิบัติในวิธีที่เรียกว่า สะบัด ขยี้ รัว หรือกวาด ได้ชัดเจนทุกเสียง ไม่กล้อมแกล้มหรือกระทบเสียงอื่นที่ไม่ต้องการ เหมือนกับผลเงาะที่แกะเนื้อออก ไม่มีติดเมล็ดเลย เราก็เรียกว่า “ล่อน”
ละเอียด
เป็นคําเรียกการบรรเลงรัวหรือกรอ ที่บรรเลงโดยมีพยางค์ของเสียงถี่มาก ซึ่งถือว่าการรัวหรือกรอได้ละเอียดนั้น เป็นการปฏิบัติที่ดี
ลัก
หรือ “ลักจังหวะ” หมายถึงการร้องหรือบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีทั้งเครื่องทําทํานองและเครื่องประกอบจังหวะ ซึ่งดําเนินไปโดยไม่ตรงกับจังหวะ เสียงที่หนักหรือน่าจะลงตรงจังหวะ ก็ทาให้ตกลงในที่อื่นซึ่งไม่ตรงจังหวะ แต่การกระทํานี้เป็นการกระทําโดยเจตนา เพื่อที่จะให้เกิดความไพเราะหรือเร้าอารมณ์ไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นผิด ลักหรือลักจังหวะนี้ แบ่งออกไปได้เป็น 3 อย่าง คือ เหลื่อม ล่วงหน้า และย้อย ซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ กันทั้งนั้น
ลา
ก. เป็นชื่อเพลงที่บรรเลงเพื่อแสดงว่า “จบ” หรือ “จบภาค” ของการบรรเลงในตอนนั้น
ข. ไม้กลองที่ตีสอดแทรกแซงให้กระชั้นขึ้น ซึ่งเป็นไปตามแบบบัญญัติ มิใช่เล่นไม้ เพื่อให้ทราบว่าจบตอนของเพลงหรือจบเพลง เช่น เพลงเสมอ จะตีไม้เดิน 5 ไม้แล้วจึงถึงลา เรียกว่า “5 ไม้ลา” หมายความว่าดําเนินเรื่อย ๆ มา 5 จังหวะแล้ว ก็ถึงตอนจบคือลา
ลำ
ในสมัยโบราณใช้เรียกแทนคําว่าเพลง เช่นเพลงนางนาค เรียกว่าลํานางนาค การละเล่นอย่างหนึ่งทางภาคอีสาน ที่ร้องเคล้าไปกับแคน เรียกว่า “ลําแคน” คนร้องเรียกว่า “หมอลํา” และ คนเป่าแคนเรียกว่า “หมอแคน”
ในสมัยปัจจุบัน มักจะแยกความหมายระหว่าง “เพลง” กับ “ลํา” เป็นคนละอย่าง เพลงหมายถึงทํานองที่มีกําหนดความสั้นยาวแน่นอน แม้เพลงบางเพลงที่มีโยนซึ่งไม่กําหนดจํานวนจังหวะ แต่เมื่อถึงเนื้อเพลงก็มีทํานองอันแน่นอน หากจะมีบทร้องก็ต้องถือทํานองเพลงเป็นใหญ่ ส่วนลํานั้น ถือถ้อยคําอันเป็นบทร้องเป็นสําคัญ ต้องน้อมทํานองเข้าหาถ้อยคําและความสั้นยาวไม่มีกําหนดแน่นอน เช่นการขับลําของหมอลําเป็นต้น
ลำนำ
เสียงที่สั้นยาวเบาแรงของการขับร้องหรือเครื่องดนตรีต่าง ๆ
อธิบาย : ไม่ว่าการเปล่งเสียงหรือการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ทั้งที่ดําเนินทํานองและประกอบจังหวะ ย่อมมีส่วนสัดความสั้นยาวเบาแรงของเสียง แม้แต่การอ่านโครงฉันท์กาพย์กลอน หรือการเป่านกหวีดให้จังหวะฝึกหัดพลศึกษา ก็ย่อมมีความสั้นยาวเบาแรง อาการที่เป็นทีฆะรัสสะและครุลหุเช่นนี้แหละ เรียกว่าลํานํา ซึ่งเทียบได้ใกล้เคียงกับศัพท์ดนตรีสากลว่า Rhythm แต่ Rhythm หมายเพียงความสั้นยาว ส่วนลํานํากินความไปถึงเบาแรงด้วย
ลำลอง
เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อม ๆ กับการร้องเพลง (เช่นเดียวกับคลอและเคล้า) อีกแบบหนึ่ง แต่วิธีการบรรเลงและร้องต่างก็ดําเนินไปโดยอิสระ คือไม่ต้องเป็นเพลงเดียวกัน เสียงที่ตกจังหวะก็ไม่ต้องเป็นเสียงเดียวกัน บางทีอาจไม่ถือจังหวะของกันและกันก็ได้ สิง่ที่จะต้องยึดถือในการบรรเลงและร้องในลักษณะลําลองนี้ก็คือ เสียงที่บรรเลงกับร้องจะต้องเป็นระดับเสียงเดียวกัน ทํานองของเพลงทั้ง 2 ฝ่ายสัมพันธ์กลมกลืนกัน เช่นการร้องเพลง “เห่เชิดฉิ่ง” ในตับพรหมาสตร์ ซึ่งคนร้องร้องเป็นทํานองเห่ ส่วนดนตรีบรรเลงเพลงเชิดฉิ่งไปพร้อม ๆ กัน
ลีลา
ได้แก่ส่วนสัด และลักษณะความเคลื่อนไหวของการดําเนินทานองและลํานํา
อธิบาย : อันส่วนสัด และลักษณะของความเคลื่อนไหวที่ดําเนินไปนั้นย่อมมีแก่ศิลปทุก ๆ แขนง แต่ในที่นี้เป็นเรื่องของการร้องเพลงและบรรเลงดนตรี จึงกําหนดของคาว่า “ลีลา” หมายถึงส่วนสัดและลักษณะความเคลื่อนไหวของการดําเนินทํานองและลํานํา อันส่วนสัดความเคลื่อนไหวการดําเนินทํานองและลํานําของเพลงนั้น ย่อมดําเนินไปโดยลักษณะต่าง ๆ กัน ซึ่งจะสังเกตได้จากเสียงสูงตํ่าและสั้นยาวเบาแรงที่ผู้แต่งหรือผู้บรรเลงได้ประดิษฐ์เรียบเรียงขึ้น เมื่อเวลา ทํานองเพลงดําเนินไปเราอาจคิดเปรียบเทียบวาดเป็นรูปร่างขึ้นในความรู้สึกได้ ถ้าทํานอง เรียบ ๆ พื้น ๆ ก็เป็นเสมือนเส้นตรงถ้ามีการเคลื่อนไหวให้ทํานองพลิกแพลงออกไปก็อาจคล้ายคลึงกับรูปเส้นคดไปคดมา หรือถ้าเป็นทํานองโลดโผนมาก ๆ ก็อาจเป็นรูปอย่างตารางวัดปรอทคนไข้ก็ได้ ลักษณะของสวนสัดความเคลื่อนไหวเหล่านี้แหละคือ “ลีลา” เพลงจะไพเราะหรือไม่อย่างไรก็อยู่ที่ลีลาเป็นสาคัญ
ลูกขัด
เป็นวิธีการบรรเลงทํานองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น 2 พวก พวกหนึ่งเรียกว่าพวกหนึ่ง (บรรเลงก่อน) อีกพวกเรียกว่าพวกหลัง (บรรเลงทีหลัง) ทั้ง 2 พวกนี้ผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง แต่ที่จะเรียกได้ว่า “ลูกขัด” นี้ เมื่อพวกหน้าบรรเลงทํานองอย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทํานองให้ผิดแผกแตกต่างไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกับทํานองของพวกหน้า ทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาวเท่าใด ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้น อย่างสั้นที่สุดอาจผลัดกันทําเพียงพวกละพยางค์เดียวก็ได้
ลูกคู่
คือคนร้องที่ร้องเป็นหมู่ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยปรกติจะร้องต่อจากต้นเสียงหรือร้องซํ้าที่ต้นเสียงร้องมาแล้ว สมัยโบราณคงจะมีเพียง 2 คน จึงได้เรียกว่าลูกคู่
ลูกบท
ได้แก่เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่ซึ่งถือว่าเป็นแม่บท เพลงเล็ก ๆ ที่เรียกว่าลูกบทนี้ อาจเป็นเพลงในอัตราสองชั้น ชั้นเดียว ครึ่งชั้น หรือเพลงภาษาต่าง ๆ ก็ได้
อธิบาย : วิธีบรรเลงในสมัยโบราณนั้น เมื่อได้บรรเลงเพลงอัตรา 3 ชั้น เพลงใดเพลงหนึ่งจบลงแล้ว ก็บรรเลงเพลงลูกหมด แสดงว่าจบ แล้วบรรเลงเพลงเล็ก ๆ (2 ชั้นหรือชั้นเดียว ฯลฯ) อีกเพลงหนึ่ง และบรรเลงเพลงลูกหมดปิดท้ายให้เห็นว่าจบจริง ๆ อีกครั้งหนึ่ง เพลงเล็ก ๆ (2 ชั้นหรือชั้นเดียว ฯลฯ) ที่บรรเลงต่อท้ายนี้แหละคือเพลงที่เรียกว่า “ลูกบท” แต่เกณฑ์อันนี้อาจเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องมีเพลงลูกหมดคั่นกลางก็ได้ คือพอจบเพลง 3 ชั้นซึ่งเป็นประธานหรือแม่บทแล้วก็บรรเลงเพลงเล็ก ๆ ซึ่งเป็นเพลงลูกบทติดต่อไปทีเดียว และจะจบลงโดยมีเพลงลูกหมดหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ผู้ประดิษฐ์และผู้บรรเลงจะเห็นสมควรเป็นเพลง ๆ ไป และเพลงลูกบทนี้จะมีร้องด้วยก็ได้ หรืออาจมีหลาย ๆ เพลงต่อกันก็ได้ แต่ต้องมีอัตราตํ่ากว่าเพลงที่เป็นแม่บท
อุทาหรณ์ : เมื่อร้องและบรรเลงเพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้นจบแล้ว จึงออกลูกหมด แล้วร้องและบรรเลงเพลงจีนขิมเล็กต่อไป เสร็จแล้วก็ออกลูกหมดอีกครั้งหนึ่ง เพลงจีนขิมเล็กนี้แหละคือลูกบท
นอกจากนั้น การบรรเลงลูกบทนี้ยังเป็นต้นทางให้เกิดการแสดงลิเกขึ้นอีกด้านหนึ่งด้วย ครั้งแรกการบรรเลงออกลูกบทก็เพียงแต่บรรเลงดนตรีเฉย ๆ ต่อมาเพลงออกลูกบทนั้นจึงมีร้องเพิ่มขึ้น และร้องติดต่อกันหลาย ๆ เพลงให้เป็นเรื่องราวเพื่อความสนุกสนาน แต่เรื่องของการแข่งขันอย่างหนึ่ง กับความไม่เพียงพอของศิลปินอย่างหนึ่ง ทาให้ก้าวหน้าต่อไป คือเพิ่มคนราแต่งตัวด้วยเสื้อผ้า แพรพรรณสีฉูดฉาดออกมาร้องรําตามเพลงซึ่งเป็นลูกบทนั้น เรียกกันว่า “ออกหางเครื่อง” หรือ “ออกท้ายเครื่อง” เมื่อได้รับความนิยมจากผู้ชมมากขึ้น ก็ขยายออกไปเป็นการแสดงนิทานเรื่องสั้น ๆ เช่นเรื่องพญาน้อยชมตลาด เป็นต้น เรียกกันว่า “ลิเกลูกบท” ภายหลังจึงมีผู้คิดผสมลิเกลูกบทเข้ากับ ลิเกบันตน กลายเป็นการแสดงลิเกที่เป็นอยู่โดยทั่วไป ลิเกสมัยก่อนนั้น ก่อนที่จะลงโรงเริ่มแสดง ปี่พาทย์ต้องบรรเลงเพลงภาษาต่าง ๆ เรียกว่าออกภาษา (หรือออกสิบสองภาษา) แล้วมีคนตีรามะนาหมู่หนึ่งออกมาร้องเพลงแขกปนไทย เรียกว่า “เพลงบันตน” เสียพักหนึ่ง เสร็จแล้วจึงแสดงออกแขก หมดชุดแขกแล้วจึงลงโรงแสดงลิเกเป็นเรื่องต่อไป ปัจจุบันนี้การร้องบันตนได้สูญไปจาก วงการลิเกสิ้นแล้ว และการแสดงอื่น ๆ ก็ได้เปลี่ยนแปลงมาตามกาลสมัย และจะเปลี่ยนไปอย่างไรอีก ก็ไม่สามารถจะทราบได้
ลูกล้อ
เป็นวิธีการบรรเลงทํานองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น 2 พวก พวกหนึ่งเรียกว่าพวกหนึ่ง อีกพวกเรียกว่าพวกหลัง ทั้ง 2 พวกนี้ผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง (เช่นเดียวกับคําว่าลูกขัด) แต่ที่จะเรียกได้ว่า “ลูกล้อ” นี้ เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปเป็นทํานองอย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทํานองซํ้า อย่างเดียวกันกับพวกหน้า และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ ก็แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้น จะสั้นยาวเท่าใดหรือเพียงพยางค์เดียวก็ได้
ลูกหมด
เป็นชื่อเพลงประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเพลงสั้น ๆ มีจังหวะเร็ว เทียบเท่ากับจังหวะ หน้าทับสองไม้ชั้นเดียว หรือครึ่งชั้น สําหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงต่าง ๆ เพื่อแสดงว่าจบ (หมด)
เล่นไม้
การตีกลองทัดพลิกแพลงสอดแทรกให้ผิดไปจากแบบแผนไม้กลองเดิม แต่จะต้องยึดถือไม้กลองอันเป็นเนื้อแท้ของเดิมไว้เป็นหลัก ทั้งนี้ก็เพื่อแก้เบื่ออย่างหนึ่ง กับเพื่อให้เหมาะสมกับท่ารําของตัวโขนละครที่บรรเลงประกอบ ซึ่งมีความประสงค์เช่นเดียวกับคําว่าส่าย ของเครื่องขึงหนังจําพวกตีหน้าทับ
หมวด ส
ส่ง
แยกออกได้เป็น 2 อย่าง
ก. เป็นการบรรเลงนําทางให้คนร้องที่จะร้องต่อไปได้สะดวกและถูกต้องเหมือนกับผู้ที่จะพ้นตําแหน่งแล้ว ก็ต้องส่งหน้าที่และแนะนําให้ผู้ที่จะรับตาแหน่งต่อไปได้ทราบแนวทาง เพื่อประโยชน์และความเรียบร้อยของส่วนรวม การบรรเลงนาให้คนร้องนี้เรียกเต็ม ๆ ว่า “ส่งหางเสียง”
ข. การร้องที่มีดนตรีรับ ก็เรียกว่าส่งเหมือนกัน แต่มักจะเรียกว่า “ร้องส่ง”
สวม
ได้แก่การบรรเลงซึ่งอาจเป็นเครื่องดนตรีทั้งวงหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียวได้บรรเลงเหลื่อมลํ้าเข้ามาในตอนท้ายก่อนจบของผู้อื่นที่จะต้องบรรเลงติดต่อเพื่อความสนิทสนมกลมกลืนกัน
อธิบาย : การบรรเลงสวมนี้ ที่ปฏิบัติกันเป็นปรกติก็คือเวลาร้องก่อนจะจบ ดนตรีก็จะบรรเลงสวมตอนท้ายเข้ามา หรือระหว่างเครื่องดนตรีที่บรรเลงเดี่ยวด้วยกัน เครื่องดนตรีที่จะบรรเลงต่อก็บรรเลงสวมตอนท้ายก่อนจะจบของเครื่องที่บรรเลงก่อน เช่นเดียวกับการต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ต้องสวมหรือเข้าปากไม้ประกบที่เหลื่อมกันให้สนิท
สองชั้น
เป็นคํากําหนดอัตราของหน้าทับและเพลง ซึ่งมีประโยคและจังหวะหน้าทับขนาดปานกลาง มีความยาวมากกว่าอัตราชั้นเดียวอีกเท่าตัว ถ้าจะเทียบกับโน้ตสากล ในจังหวะหน้าทับ หนึ่ง ๆ หากเป็นประเภทสองไม้ จะมีความยาวเท่ากับ 2 ห้องของจังหวะ 24 และถ้าเป็นประเภท ปรบไก่ ก็จะมีความยาวเท่ากับ 4 ห้องของจังหวะ 24
อธิบาย : การที่เรียกเพลงและหน้าทับในอัตรานี้ว่าสองชั้นก็เพราะเป็นการแต่งชั้นที่ 2 คือ แต่งชั้นแรกเป็นอัตราชั้นเดียวครั้งหนึ่ง แล้วแต่งขยายขึ้นเป็นทวีคูณอีกครั้งหนึ่ง เป็นการที่ต้องแต่ง 2 ชั้น จึงเรียกเพลงอัตรานี้ว่าสองชั้น เพลงที่ใช้ร้องโขนละคร มักจะเป็นอัตรา 2 ชั้นโดยมาก
สองไม้
เป็นชื่อของหน้าทับอย่าหนึ่ง ซึ่งมีส่วนค่อนข้างสั้น เพื่อสะดวกและเหมาะสมแก่ทํานองเพลงที่มีประโยคสั้น ๆ หรือเพลงที่มีทํานองพลิกแพลง หรือเพลงที่กําหนดความยาวไม่แน่นอน
อธิบาย : หน้าทับแบบนี้ นักปราชญ์ทางดนตรีไทยในสมัยโบราณได้คิดขยายขึ้น จากลํานําการตีเครื่องหนังของหน้าทับเพลงเร็วอีกเท่าตัว (เป็น 2 ชั้น) สําหรับตีประกอบกับการ ร้องด้นแบบหนึ่งชื่อเรียกว่า “ด้นสองไม้” การร้องด้นสองไม้นี้ ผู้ร้องย่อมร้องพลิกแพลงไปต่าง ๆ และมีความยาวไม่แน่นอน ซึ่งการแสดงละครนอก เพลงฉ่อย แอ่ว และลิเก ยังนํามาใช้ร้องในเวลา ที่ต้องการรวบรัดและดาเนินเรื่องอยู่ในปัจจุบันนี้ หน้าทับที่กล่าวนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “สองไม้” แม้ในสมัยที่เกิดทํานองเพลงอัตรา 3 ชั้นขึ้น หน้าทับนี้ก็ขยายขึ้นไปด้วยตามส่วน และคงเรียกว่า หน้าทับสองไม้เช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นอัตรา 3 ชั้น 2 ชั้น หรือชั้นเดียว หน้าทับสองไม้ 2 ชั้นนี้ เป็นมูลให้คิดหน้าทับอื่น ๆ ขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น หน้าทับเซ่นเหล้า หน้าทับลาว หน้าทับเจ้าเซ็น เป็นต้น
สอด
ป็นการบรรเลงชนิดหนึ่ง ที่แทรกเข้ามาในระหว่างการร้องหรือเครื่องดนตรีอย่างอื่นเขาหยุด
อธิบาย : วิธีการบรรเลงสอดแทรกเข้ามานี้ บางทีก็เป็นการบรรเลงตามที่ผู้แต่งเพลงนั้นได้กาหนดไว้ เช่นบรรเลงสอดเวลาร้องเพลงสาลิกาเป็นต้น แต่บางทีก็เป็นการสอดแทรกขึ้นมาเอง ซึ่งเป็นนอกหน้าที่ เหมือนกับการพูดสอดขึ้นกลางคัน การกระทําอย่างนี้ ถ้าถูกส่วนก็เป็นของดีไปได้
สะบัด
ได้แก่การบรรเลงที่แทรกเสียงเข้ามาในเวลาบรรเลงทํานอง “เก็บ” อีก 1 พยางค์ ซึ่งแล้วแต่ผู้บรรเลงจะเห็นสมควรว่าจะแทรกตรงไหน ทํานองตรงที่แทรกนั้นก็เรียกว่า “สะบัด”
อธิบาย : การแทรกเสียงที่จะให้เป็นสะบัด ต้องแทรกเพียงแห่งละพยางค์เดียว ถ้าแทรกเป็นพืดไปก็กลายเป็น “ขยี้” ดังจะได้บันทึกเป็นโน้ตสากลเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างเนื้อเพลง เก็บ สะบัด และขยี้ ต่อไปนี้
สามชั้น
เป็นคํากําหนดอัตราของหน้าทับและเพลง ซึ่งมีประโยคและจังหวะหน้าทับค่อนข้างยาว ทุก ๆ ประโยคและจังหวะหน้าทับมีความยาวกว่าอัตรา 2 ชั้นอีกเท่าตัว (4 เท่าของ ชั้นเดียว) ถ้าจะเทียบกับโน้ตสากล ในจังหวะหน้าทับหนึ่ง ๆ หากเป็นประเภทสองไม้ จะมีความยาวเท่ากับ 4 ห้องของ 24 และถ้าเป็นประเภทปรบไก่ ก็จะมีความยาวเท่ากับ 8 ห้องของ 24
อธิบาย : การที่เรียกเพลงและหน้าทับในอัตรานี้ว่าสามชั้นก็เพราะเป็นการแต่งขยายขึ้นเป็นชั้นที่ 3 คือแต่งชั้นแรกเป็นอัตราชั้นเดียว แต่งขยายชั้นที่ 2 เป็นสองชั้น แล้วแต่งขยายเป็นทวีคูณจากอัตรา 2 ชั้นขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เป็นการแต่งถึง 3 ชั้นจึงเรียกว่าสามชั้น ไม่ได้เรียกตามส่วนหรือสูตรที่ขยายเป็นทวีคูณ เพราะถ้าเรียกตามส่วนก็จะเป็น 1 ชั้น 2 ชั้น และ 4 ชั้น เพราะแต่ละชั้น คูณด้วย 2 ทั้งสิ้น แต่โบราณาจารย์ได้บัญญัติไว้ให้เรียกตามชั้นที่แต่งขึ้น จึงเป็นชั้นเดียว 2 ชั้น และ 3 ชั้น หากผู้ใดแต่งทวีคูณเพลงอัตรา 3 ชั้นขึ้นไปอีก ก็ต้องเรียกว่า 4 ชั้น ไม่ใช่ 6 หรือ 8 ชั้น เพลงอัตรา 3 ชั้นนี้ ในทางบรรเลงดนตรีเกิดขึ้นจากเพลงตระโหมโรงก่อน ส่วนในทางร้องเกิดขึ้นจากการร้องสักวาก่อน แต่ที่เริ่มแพร่หลายขึ้นในวงการบรรเลงรับร้องและประกอบเสภานั้น เกิดขึ้น ราวสมัยปลายรัชกาลที่ 3 ต่อกับต้นรัชกาลที่ 4 นี้เอง นัยว่า พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ที่เรียกกันเป็นสามัญว่าครูมีแขกเป็นผู้ริเริ่มขึ้น
ส่าย
การตีพลิกแพลงของเครื่องขึ้นหนังจําพวกตีหน้าทับ
อธิบาย : ตามปรกติศิลปินย่อมไม่ชอบการซํ้าซาก เพราะฉะนั้น ผู้ที่ตีเครื่องถึงหนังจําพวกหน้าทับซึ่งมีวิธีตีเพียงเพลงสั้น ๆ จะต้องตีซํ้าอยู่เช่นนั้นจนกว่าจะจบทํานองของบทเพลง ย่อมรู้สึกเบื่อ จึงเปลี่ยนแปลงการตีให้พลิกแพลงออกไป โดยรักษาพื้นเดิมซึ่งเป็นเนื้อแท้ไว้เป็นหลัก และบางทีก็ตีพลิกแพลงให้สอดคล้องกับทํานองเพลงเพื่อให้สนิทสนมกลมกลืน วิธีตีพลิกแพลงของเครื่องหนังจําพวกนี้แหละเรียกว่า “ส่าย” เสมือนการเดินสายไปส่ายมาซึ่งเดินอยู่ในถนนเดิมนั้นเอง
สาเนียง
หมายถึงกระแสของทํานองเพลงที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น กระทําให้บังเกิดความรู้สึกและทราบได้ว่าเป็นเพลงจําพวกใด ชนิดใด และภาษาใด
คําพังเพยที่ว่า “สําเนียงบอกภาษา” หมายถึงสิ่งที่เราได้รับความรู้สึกจากเสียงพูดของคน ซึ่งมีสําเนียงต่าง ๆ กัน ทําให้เราทราบได้ว่าผู้พูดนั้นเป็นภาษาอะไร หรือชาวเมืองไหน และสําเนียง ที่เราได้รับจากการฟังเสียงของทํานองเพลงดนตรี ก็สามารถทําให้ทราบได้ว่าเป็นเพลงจําพวกใด ชนิดใด และภาษาใด ได้เช่นเดียวกัน
เสียง
สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความสั่นสะเทือน ซึ่งจะรู้สึกได้ในทางโสตประสาท ความสั่นสะเทือนเป็นช่วงยาวหรือห่างก็เป็นเสียงต่า ถ้าความสั่นสะเทือนเป็นช่วงสั้นหรือถี่ก็เป็นเสียงสูง ยิ่งถี่มากเท่าใด เสียงก็สูงมากเท่านั้น มาตราเสียงเรียงลําดับของดนตรีไทยในช่วงคู่ 8 หนึ่ง (Octave) แบ่งออกเป็น 7 เสียง มีส่วนห่างเท่า ๆ กันทุก ๆ เสียง ซึ่งต่างกันกับ Scale ของดนตรีตะวันตก
หมวด ห
หน้าทับ
วิธีตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนังจําพวกที่เลียนเสียงมาจาก “ทับ” เช่น ตะโพน และกลองแขก เป็นต้น ซึ่งมีบัญญัติเป็นแบบแผนสําหรับตีประกอบจังหวะประจํากับทํานองเพลงโดยเฉพาะ
อธิบาย : ทับเป็นชื่อเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนังหน้าเดียว ใช้ตีประกอบจังหวะทํานองดนตรีมาแต่โบราณ สมัยปัจจุบันเราเรียกว่า “โทน” (ที่ตีคู่กับรํามะนาในวงมโหรี) หน้าที่อันสําคัญของทับคือตีประกอบจังหวะให้ถูกต้องกับประโยคเพลง แต่เสียงของทับไม่สามารถตีเป็นทํานองได้ จึงตีแต่เพียงเป็นเครื่องบอกส่วนสัดและประโยคของเพลงนั้น ๆ วิธีตีทับประจําเพลงนี้ ผู้ร้องหรือผู้บรรเลงดนตรีต้องยึดถือเป็นสิ่งสาคัญ ถ้าร้องหรือบรรเลงเพลงใดไม่ตรงกับวิธีตีของทับ ก็ถือว่าเพลงนั้นผิดโดยขาดหรือเกิน ทับจึงเป็นเสมือนผู้กํากับอันสําคัญ เป็นหัวหน้าของบทเพลงอย่างหนึ่ง วิธีตีหรือเพลงของทับนี้จึงเรียกว่า “หน้าทับ” สมัยต่อมาไทยเราได้เพิ่มเติมเครื่องขึงด้วยหนังตีประกอบจังหวะขึ้นตามกาลสมัย โดยใช้วิธีตีเลียนเสียงมาจากทับอีกหลายอย่าง เช่น ตะโพน สองหน้า กลองแขก กลองมลายู เป็นต้น แม้แต่ทับ ซึ่งเป็นของเดิม ก็ยังเพิ่มกลองรํามะนาเข้าตีสอดแทรกเป็นคู่กัน วิธีตีหรือเพลงของเครื่องขึงด้วยหนังจําพวกนี้ จึงเรียกว่า “หน้าทับ” ทั้งหมด
หน้าพาทย์
หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบกิริยา ไม่ว่าจะเป็นกิริยาของมนุษย์ สัตว์ วัตถุ หรือธรรมชาติ ทั้งกิริยาที่มีตัวตนหรือกิริยาสมมติ และตลอดทั้งกิริยาที่เป็นปัจจุบันและอดีต เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาทั้งหลายเหล่านี้ ถือว่าเป็นเพลงหน้าพาทย์ทั้งสิ้น
อธิบาย : การบรรเลงประกอบกิริยา หมายถึงบรรเลงเพื่อแสดงกิริยานั้น ๆ เช่น บรรเลงประกอบกิริยา ยืน เดิน กิน นอน เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นหรือศูนย์ไป การบรรเลงประกอบกิริยาที่มีตัวตนก็เช่นบรรเลงประกอบการแสดงโขนละคร เวลาบรรเลงเพลงคุกพาทย์ให้โขนตัวหนุมานรํา ทําท่าทางแผลงอิทธิฤทธิ์หาวเป็นดาวเป็นเดือนเป็นต้น ส่วนการบรรเลงประกอบกิริยาสมมติก็เช่นบรรเลงประกอบการร้องเพลงตับนาคบาศ พอร้องบทของพระลักษมณ์ว่า
เมื่อนั้น พระลักษมณ์ชื่นชมสมประสงค์ ขอพรลาพระหริวงศ์ ลีลามาสรงคงคา
แล้วปี่พาทย์ก็บรรเลงเพลงเสมอ เพลงเสมอนี้เป็นการบรรเลงเพื่อประกอบกิริยาของพระลักษมณ์ ที่ เสด็จออกจากที่เฝ้าเข้าสู่ห้องสรงตามเนื้อเรื่องที่ร้อง แม้จะไม่มีตัวพระลักษมณ์ออกมารําจริง ๆ ก็ถือว่าเป็นกิริยาสมมติเพลงเสมอนี้จึงเป็นเพลงหน้าพาทย์
ที่ว่าการบรรเลงประกอบกิริยาย่อมเป็นหน้าพาทย์ทั้งกิริยาที่เป็นปัจจุบันและอดีตนั้น กิริยา ที่เป็นปัจจุบันย่อมมีได้ทั้งกิริยาที่มีตัวตนและสมมติ กิริยาที่มีตัวตนก็เช่นการบรรเลงประกอบการแสดงโขนละครดังกล่าวแล้ว และที่เป็นกิริยาสมมติก็เช่น บรรเลงประกอบการร้องเพลงตับ หรือเวลาบรรเลงประกอบการไหว้ครูโขนละครและดนตรี ขณะที่ผู้เป็นประธานกล่าวโองการ เชิญเทพเจ้า องค์ใดองค์หนึ่ง เป็นต้นว่าพระปรคนธรรพ พอกล่าวจบก็บอกให้ปี่พาทย์บรรเลงเพลงตระ พระปรคนธรรพ เพลงตระพระปรคนธรรพ ที่ปี่พาทย์บรรเลงจึงสมมติว่าประกอบกิริยาที่ พระปรคนธรรพ เสด็จมาในขณะนั้นจึงถือเป็นเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาสมมติที่เป็นปัจจุบัน
ส่วนกิริยาที่เป็นอดีตนั้น มีแต่กิริยาสมมติ เช่นการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบการเทศนา มหาเวสสันดรชาดก หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า เทศน์มหาชาติ ตามประเพณีเมื่อพระเทศน์จบลงกันฑ์หนึ่ง ปี่พาทย์ก็จะต้องบรรเลงเพลงตามกิริยาของท้องเรื่องในกันฑ์ที่จบลงนั้นทุก ๆ กันฑ์ เป็นต้นว่าเมื่อพระเทศน์จบกันฑ์กุมาร ปี่พาทย์ก็จะต้องบรรเลงเพลงเชิดฉิ่งโอด (คือเพลงเชิดฉิ่งกับเพลงโอดสลับกัน) ซึ่งประกอบกิริยาของพระกุมารชาลีกับกัณหาที่ถูกชูชกบังคับให้เดินโดยเฆี่ยนตีขู่เข็ญ ไปตลอดทาง พระกุมารทั้ง 2 ก็วิ่งบ้างเดินบ้างร้องไห้ไปบ้าง ตามเนื้อเรื่องที่พระได้เทศน์จบไปแล้วนั้นเพลงเชิดฉิ่งโอดนี้ ก็ถือว่าเป็นหน้าพาทย์ ซึ่งบรรเลงประกอบกิริยาสมมติและเป็นอดีตเพราะพระท่านได้เทศน์ถึงกิริยาเหล่านั้นเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว
การเรียกเพลงประเภทนี้ว่าหน้าพาทย์ น่าจะมาจากศิลปินฝ่ายโขนละครเป็นผู้เรียกก่อน เพราะการร่ายรําเข้ากับเพลงประเภทนี้ ผู้นําจะต้องยึดถือจังหวะ ทํานองเพลง หน้าทับและไม้กลองของเพลงเป็นสิ่งสําคัญ ต้องราให้มีทีท่าเข้ากันสนิทกับทานองและจังหวะ ต้องมีความสั้นยาวพอดีกับเพลง ต้องถือว่าเพลงที่บรรเลงเป็นหลัก เป็นหัวหน้า เป็นสิ่งที่ต้องราตาม จึงเรียกเพลงประเภทนี้ว่า หน้าพาทย์ และเรียกการรํานั้นว่า รําหน้าพาทย์ จริงอยู่มีเพลงหน้าพาทย์บางเพลงอาจกาหนดความสั้นยาวไม่แน่นอน เช่น เพลงช้า เพลงเร็ว และเชิด เป็นต้น แต่ถึงกระนั้น เมื่อผู้นาต้องการจะหยุดหรือเปลี่ยนเพลง ก็จะต้องให้พอเหมาะกับประโยค หรือหน้าทับ หรือไม้กลองของเพลง จะรําป้องหน้าหรือเปลี่ยนไปตามพอใจหาได้ไม่
หลบ
หมายถึงการร้อง หรือบรรเลงดนตรี ที่ดําเนินทํานองหักเสียงพลิกกลับจากเสียงสูง ลงมาเป็นเสียงตํ่า หรือจากเสียงตํ่าขึ้นไปเป็นเสียงสูง
อธิบาย : เสียงของคนก็ดี เสียงของเครื่องดนตรีก็ดี ย่อมมีเขตจํากัดทั้งด้านเสียงสูงและเสียงต่า กว้างบ้างแคบบ้างต่าง ๆ กัน แต่ทํานองเพลงย่อมดําเนินไปตามลําดับที่ผู้แต่งได้แต่งไว้ เมื่อเสียงของคนร้องหรือเสียงของเครื่องดนตรี ไม่สามารถจะดําเนินตามทํานองต่อไปได้ เพราะสุดเขตเสียงของตนจะเป็นทางด้านเสียงสูงหรือเสียงตํ่าก็ตาม ก็ต้องหักทํานองพลิกกลับเข้ามาดําเนินทํานองในเขตเสียงของตน การปฏิบัติอย่างนี้เรียกว่าหลบ เพราะเป็นการหลบหลีกจากเสียง ที่เกินความสามารถ
เหลื่อม
หมายถึงการบรรเลงที่แบ่งเครื่องบรรเลงออกเป็น 2 พวก เป็นพวกหน้ากับพวกหลัง (เหมือนบรรเลงลูกล้อหรือลูกขัด) ทํานองที่บรรเลงของพวกหน้ากับพวกหลังเป็นอย่างเดียวกัน มีความยาวเท่ากัน แต่พวกหน้าบรรเลงก่อนพวกหลังเล็กน้อย เพราะฉะนั้นพวกหน้าก็จะต้องหมดก่อนพวกหลังเท่ากับระยะที่ได้บรรเลงขึ้นมาก่อนและเสียงสุดประโยคของพวกหน้าก็ตกลงก่อนจังหวะ ประโยคที่บรรเลงเหลื่อมนี้จะสั้นยาวเพียงใดก็แล้วแต่ความประสงค์ของผู้แต่ง
อธิบาย : การบรรเลงเหลื่อมก็เปรียบเหมือนเส้นตรง 2 เส้น ซึ่งมีความยาวเท่ากันและขีดให้ขนานกัน แต่ให้เส้นที่ 1 เหลื่อมมาข้างหน้า ก็จะแลเห็นว่าปลายเส้นที่ 1 นั้นสุดลงก่อนเส้นที่ 2 ดังภาพนี้
ไหว
หมายถึงการบรรเลงให้เสียงดนตรีหลาย ๆ เสียงที่ติดต่อกันนั้นมีระยะที่ถี่และ ในจังหวะเร็ว หากทําได้ถี่และเร็วมาก ก็เรียกว่าไหวมาก
หมวด อ
ออก
คือการบรรเลงที่เปลี่ยนจากเพลงหนึ่งไปอีกเพลงหนึ่งเช่นบรรเลงเพลงช้าแล้วเปลี่ยนเป็นเพลงเร็วก็เรียกว่า ออกเพลงเร็วเปลี่ยนจากเพลงธรรมดาไปเป็นเพลงลูก ก็เรียกว่า ออกลูกหมด
เอื้อน
1. ใช้ในการขับร้อง : หมายถึงการร้องเป็นทํานองโดยใช้เสียงเปล่า ไม่มีถ้อยคํา เสียงที่ร้องเอื้อนนี้อนุโลมคล้ายสระเออ ซึ่งประโยชน์ของเอื้อน สําหรับบรรจุทํานองเพลงให้ถูกต้องครบถ้วน ในเมื่อบทร้อง (ถ้อยคํา) ไม่พอกับทํานองเพลง และเพื่อตบแต่งให้ถ้อยคํานั้นชัดเจนยิ่งขึ้น
2. ใช้ในการบรรเลงดนตรี : หมายถึงการทําเสียงให้เลื่อนไหลติดต่อกันโดยสนิทสนม จะเป็นจาก เสียงสูงมาหาเสียงตํ่า หรือเสียงตํ่าไปหาเสียงสูง หรือเป็นเสียงสลับกันอย่างไรก็ได้
โอด
ก. เป็นชื่อเพลงดนตรีเพลงหนึ่ง สําหรับใช้เป็นหน้าพาทย์บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ หรือสลบ หรือตาย
ข. เป็นชื่อของเสียงที่ใช้ในวงปี่พาทย์เสียงหนึ่ง ซึ่งเทียบโดยอนุโลมกับเสียงของดนตรีสากลตรงกับเสียง ลา ถ้าตีด้วยฆ้องวงใหญ่ ก็จะได้แก่ลูกที่ 12 (นับจากลูกที่มีเสียงตํ่าสุด) และฆ้องลูกนี้ก็มีชื่อว่า “ลูกโอด” เพราะเสียงนี้เป็นเสียงหลักสําคัญของเพลงโอด
ค. หมายถึงทางดําเนินทํานองเพลงอย่างหนึ่ง ซึ่งดําเนินไปโดยแช่มช้า โหยหวน อ่อนหวาน หรือโศกซึ้ง เป็นคําคู่กับคาว่าพันที่เรียกว่าโอดพัน บางท่านก็ว่าเป็นการดําเนินทํานองในระดับเสียงสูง
โอดพัน
เป็นคําเรียกวิธีบรรเลงดนตรีอย่างหนึ่ง ซึ่งมีทั้งทางโอด และทางพัน คือการบรรเลงนั้นมีทั้งโหยหวน อ่อนหวาน และเก็บแทรกแซงเสียงให้ถี่ ๆ อาจสลับกันเป็นอย่างละตอนหรือ อย่างละเที่ยวก็ได้
อีกนัยหนึ่ง เป็นการบรรเลงหรือร้องทํานองเดียวกัน แต่บรรเลงหรือร้องในระดับเสียงสูง เที่ยวหนึ่ง ระดับเสียงตํ่าเที่ยวหนึ่ง
(หนังสือศัพท์สังคีต ครูมนตรี ตราโมท)